ศึกษาแนวทางการเผยแผ่พุทธธรรมของพระสงฆ์ อำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี

AN APPROACHABLE STUDY OF PROPAGATING BUDDHADHAMMA OF THE SANGHA IN CHAIWAN DISTRICT, UDONTHANI PROVINCE

  • พระมหาชัยวัฒน์ อานนฺโท (วุฒิพงศ์เดชา) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดการเผยแผ่ธรรมะตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาการเผยแผ่ธรรมะตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาทในพื้นที่ อำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี 3) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้วิธีการและแนวการเผยแผ่ธรรมะตามแนวพระพุทธศาสนาเถรวาทพื้นที่ อำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสารและสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 30 คน วิเคราะห์ด้วยวิธีการเชิงพรรณนา


           ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวคิดการเผยแผ่ธรรมะตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาท เป็นวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้าที่มีเทคนิค และวิธีการที่หลากหลาย เหมาะสม แก่ชนทุกชั้นวรรณะ และกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ในสมัยพุทธกาล 2) การเผยแผ่ธรรมะตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาทในพื้นที่อำเภอไชยวาน คือ การดำเนินงานการเผยแผ่พุทธธรรมตามคำสอนทางพระพุทธศาสนนา เป็นการทำหน้าที่สอนธรรม นำปฏิบัติธรรม ด้วยการเทศนาสั่งสอนประชาชนให้ตั้งอยู่ในศีลธรรมเป็นประจำทุกวันพระอุโบสถศีลเป็นผู้บรรยายธรรมทางสื่อออนไลน์ต่างๆ และตามสถาบันการศึกษา หน่วยงานต่างๆ ของภาครัฐและเอกชน ปฏิบัติกิจของสงฆ์ด้วยการทำวัตรสวดมนต์เช้า เย็น เป็นประจำทุกวัน การลงอุโบสถสังฆกรรมเป็นประจำ นอกจากนั้นต้องเป็นนักเผยแผ่ที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล เพื่อที่จะบูรณาการกับเทคโนโลยีในปัจจุบันเพื่อเป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้ถึงประชาชนทุกเพศทุกวัยที่มากขึ้น 3) การประยุกต์ใช้วิธีการและแนวการเผยแผ่ธรรมะตามแนวพระพุทธศาสนาเถรวาทพื้นที่อำเภอไชยวาน สามารถสรุปออกเป็น 2 ประเด็นใหญ่ๆ คือ (1) รูปแบบในการเผยแผ่ ได้แก่ เผยแผ่ธรรมะ โดยท่านนำเสนอทั้งในส่วนของ พุทธศาสนสุภาษิต และผญาอีสาน นำเสนอโดยเชื่อมโยงกับสถานการณ์ และนำเสนอในแบบของข้อคิดสะกิดใจ เปรียบเทียบอุปมาอุปไมย การนำเสนอในประเด็นที่ง่าย ไม่ซับซ้อน สามารถทำความเข้าใจได้ทั้งเด็ก เยาวชน และผู้ใหญ่ (2) ส่วนแนวทางในการเผยแผ่ธรรมะของพระสงฆ์ในพื้นที่อำเภอไชยวาน ทั้งการเผยแผ่ในวัดและนอกวัด เน้นการเผยแผ่ธรรมะใน 1 รูปแบบ คือ 1) เชิงรุก และ 2) เชิงรับ โดยในส่วนของเชิงรุกนั้น พระสงฆ์ใช้วิธีการเผยแผ่ธรรมะในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ได้อย่างเป็นระบบ ส่วนในรูปแบบเชิงรับนั้น ท่านใช้แนวทางในการเผยแผ่ธรรมะที่ได้เผยแผ่ไปแล้ว มีผลย้อนกลับมาได้ผลดี มีกระแสตอบรับจากพุทธศาสนิกชนที่รับสารนั้นแล้วได้ประโยชน์จากสาร และสามารถนำสารที่ได้รับไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพในที่สุด แนวทางการใช้เทคโนโลยีเผยแผ่ธรรมะของพระสงฆ์ มีการใช้เทคโนโลยีอย่างมีคุณภาพทันสมัยตามหลักการทางพระพุทธศาสนา โดยสามารถนำหลักพระพุทธศาสนามาเชื่อมโยงกับองค์ความรู้ทางศาสตร์วิชาการ โดยใช้หลักธรรม สติสัมปชัญญะ นำมาประยุกต์การใช้กับเทคโนโลยีอย่างมีคุณภาพ

References

พระครูโกวิทสุตาภรณ์ (สมดี โกวิโท). (2565). การศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์กับการเผยแผ่คริสต์ศาสนาของบาทหลวงเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในจังหวัดหนองบัวลำภู. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระประยูร อาจิณฺณธมฺโม (รุ่งเรือง). (2565). บทบาทการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสาวกในพระสุตตันตปิฎก. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2550). รุ่งอรุณของการศึกษา เบิกฟ้าแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ : บริษัท พิมพ์สวย จำกัด.

พระพีรพงศ์ พีรสกฺโก (ศรีฟ้า). (2560). ศึกษารูปแบบและวิธีการประชาสัมพันธ์ของยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เสฐียรพงษ์ วรรณปก. (2540). พุทธวิธีสอนจากพระไตรปิฎก. กรุงเทพฯ : เพชรรุ่งการพิมพ์ จำกัด.

Archan Vinai Ussivakul. (1996). An Introduction to Buddhist Meditation for Result. Bangkok : Tippayawisuit Partnership Ltd.
Published
2023-07-05
How to Cite
อานนฺโท (วุฒิพงศ์เดชา), พระมหาชัยวัฒน์. ศึกษาแนวทางการเผยแผ่พุทธธรรมของพระสงฆ์ อำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 7, n. 2, p. 698-707, july 2023. ISSN 2730-2644. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/2345>. Date accessed: 15 dec. 2024.