รูปทรงแห่งความเป็นแม่

THE SHAPE OF A MOTHER

  • กาญจนาพร ปัตตาเทสัง คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • กนกวรรณ์ นิธิรัฐพัฒน์ คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • บุญทัน เชษฐสุราษฎร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Abstract

           บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปทรงแห่งความเป็นแม่ผู้ให้กำเนิดชีวิต ความเป็นผู้นำของครอบครัว การตระหนักถึงความหมายยิ่งใหญ่ของแม่ผู้ให้กำเนิดเพื่อสร้างสรรค์ผลงานเพื่อสร้างสรรค์ผลงานสื่อผสม ด้วยวิธีการถักไหมพรมแสดงออกผ่านรูปทรงโดยใช้รูปทรงของความเป็นแม่ ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากความรักความผูกพันของแม่ผู้ให้กำเนิดชีวิต มีวิธีการดำเนินการสร้างสรรค์โดยการรวบรวมข้อมูลจากสภาพแวดล้อมได้แก่ เรื่องราวความประทับใจ ความผูกพันระหว่างแม่และลูกที่อบอุ่น และศึกษาเอกสารเกี่ยวกับโครงสร้างร่างกายเพื่อนำมาใช้ในการออกแบบรูปทรง และอิทธิพลจากผลงานศิลปกรรมของ ลูกปลิว จันทร์พุดซา ด้านรูปทรง และเนื้อหาผลงานที่แสดงออกถึงเรื่องความรักของแม่ที่มีต่อลูก วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาความชัดเจนของแนวเรื่อง สายสัมพันธ์ระหว่างแม่และลูก ลักษณะผลงานได้ให้อิทธิพลด้านรูปทรง การใช้อวัยวะเช่น กระดูกเชิงกราน มานำเสนอเป็นภาพตัวแทนของแม่ รูปทรงแห่งคามเป็นแม่ ที่มีคุณค่าความงามตามหลักสุนทรียศาสตร์เป็นผลงานที่มีลักษณะเฉพาะตน


            ผลการศึกษาพบว่า 1) ความรักความผูกพันของแม่ผู้ให้กำเนิดชีวิต ความเป็นผู้นำของครอบครัว การตระหนักถึงความหมายยิ่งใหญ่ของแม่ผู้ให้กำเนิด แสดงถึงแม่ซึ่งเป็นบุคคลอันดับแรกที่เป็นผู้ให้กำเนิด ผูกพันใกล้ชิด เลี้ยงดู ดูแล และเป็นแบบอย่างที่ดี 2) การสร้างสรรค์สื่อผสมด้วยวิธีการ ถักไหมพรมเส้นสายของการถักทอเสมือนเส้นสายสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูก ตามรูปทรงของความเป็นแม่ที่มีการกำหนดไว้ โดยได้รับแรงบันใจจากโครงสร้างร่างกาย โดยใช้ลวดลายดอกไม้รูปทรงสัญลักษณ์ที่เป็นตัวแทนของความรักความห่วงใย ความผูกพันที่แม่มีต่อลูก พบว่าผลงานสร้างสรรค์สอดคล้องกับแนวความคิด สื่อถึงความสะเทือนด้านอารมณ์ของการเจ็บปวด การเสียสละของบุคคลที่เป็นแม่บ่งบอกถึงการให้กำเนิดเป็นอีกอย่างหนึ่งของความพิเศษที่น่าสนใจที่เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นสตรีเพศ โดยควบคู่ไปกับแนวความคิด และเทคนิคในการทำงานให้ตอบสนองแนวคิดที่นำเสนอ ซึ่งการพัฒนาผลงานสร้างสรรค์มีความสมบูรณ์ชัดเจนมากยิ่งขึ้น 

References

ครูบ้านนอก. (2551). ความหมายของคำว่าแม่. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2565. จาก https://www.kroobannok.com/2058

เจนจิราภรณ์ นามโคตร. (2541). ชีวิตและครอบรัวศึกษา. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2565. จากHttps://Sites.Google.Com/Site/Ann5481136701/Prawati-Phu-Cad-Tha

ชลูด นิ่มเสมอ. (2553). องค์ระกอบของศิลปะ. กรุงเทพฯ : อมรินทร์.

ทวีเกียรติ ไชยยงยศ. (2538). สุนทรียะทางทัศนศิลป์. กรุงเทพฯ : โครงการตำราคณะศิลปกรรมศาสตร์ สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.

ปาลิตา ผลประดับเพ็ชร์. (2561). “ความเป็นแม่” ในหนังสือแนะนำการเตรียมความพร้อม. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 15(2). 45–57.

รุจา ภู่ไพบูลย์. (2537). การพยาบาลครอบครัว. ขอนแก่น : คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ลูกปลิว จันทร์พุดซา. (2564). บ้านหลังแรก. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2565. จากHttp://Www.Barameeofart.Com/Product_detail.Php?Id=729&page=4
Published
2022-10-03
How to Cite
ปัตตาเทสัง, กาญจนาพร; นิธิรัฐพัฒน์, กนกวรรณ์; เชษฐสุราษฎร์, บุญทัน. รูปทรงแห่งความเป็นแม่. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 7, n. 2, p. 33-43, oct. 2022. ISSN 2730-2644. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/2286>. Date accessed: 29 apr. 2024.