ความไว้วางใจและสัมพันธภาพในองค์กรส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของบุคลากร สำนักการจราจรและขนส่งกรุงเทพมหานคร

TRUST AND RELATIONSHIPS IN THE ORGANIZATION AFFECT TEAMWORK OF PERSONNEL OF TRAFFIC AND TRANSPORTATION DEPARTMENT BANGKOK

  • จันทร์จิรา โพธิติ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
  • สุทธิภัทร อัศววิชัยโรจน์ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความไว้วางใจของบุคลากรสำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกันระหว่างบุคลากรและการทำงานเป็นทีมของสำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาสัมพันธภาพของบุคลากรสำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาการทำงานเป็นทีมในการทำงานของบุคลากรสำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร และ 4) เพื่อศึกษาอิทธิพลของความไว้วางใจ และสัมพันธภาพในองค์กรต่อการทำงานเป็นทีมของบุคลากรสำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร วิธีการดำเนินวิจัยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ข้าราชการและบุคลากรของสำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร จำนวน 160 คน โดยเครื่องมือในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความน่าเชื่อถือมากกว่า 0.8 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงค่าความถี่ ค่าร้อยละ คำนวนค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ


           ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรสำนักการจราจรและขนส่งกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 31 – 40 ปี ซึ่งเป็นข้าราชการ และมีประสบการณ์ทำงาน 11 – 20 ปี ปัจจัยความไว้วางใจในองค์กรและสัมพันธภาพในองค์กรสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของการทำงานเป็นทีมของบุคลากรสำนักการจราจรและขนส่งกรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยปัจจัยสัมพันธภาพในองค์กรมีผลต่อการทำนายความเปลี่ยนแปลงการทำงานเป็นทีมของบุคลากรสำนักการจราจรและขนส่งกรุงเทพมหานคร  (Beta = 0.749)

References

ช. ปวินท์ เพ็ชญไพศิษฏ์. (2557). การติดต่อสื่อสาร วัฒนธรรมองค์กร และความไว้วางใจกัน ที่มีอิทธิพลต่อการทำงานเป็นทีมของพนักงานรัฐวิสาหกิจด้านพลังงานไฟฟ้าแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. คณะบริหารธุรกิจ : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

เดือนนภา อู่ทอง และคณะ. (2564). การทำงานเป็นทีมของพนักงานรัฐวิสาหกิจในเขตกรุงเทพมหานคร. Journal of Roi Kaensarn Academi. 6(5). 144-154.

ธนวัฒน์ วังอมรมิตร. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความภักดีของลูกค้าไอโฟนในกรุงเทพ-มหานคร. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. คณะบริหารธุรกิจ : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วรินทร รองกลัด. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างความไว้วางใจในองค์กร การรับรู้การสนับสนุนจากองค์กร และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรของพนักงานบริษัทผลิตเครื่องดื่มและอาหารแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ. คณะศิลปะศาสตร์ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สถาบันพระปกเกล้า. (2565). กรุงเทพมหานคร. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2565. จาก http:// wiki.kpi.ac.th/index

สำนักการจราจรและขนส่งกรุงเทพมหานคร. (2564). แผนแม่บทความปลอดภัยทางถนนและแผนปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนน พ.ศ. 2564 – 2568. กรุงเทพฯ : สำนักการจราจรและขนส่งกรุงเทพมหานคร.

สำนักการจราจรและขนส่งกรุงเทพมหานคร. (2565). ข้อมูลบุคลากรสำนักจราจรและขนส่งกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : สำนักการจราจรและขนส่งกรุงเทพมหานคร.

อธิป จันทร์สุริย์. (2563) อิทธิพลของความไว้วางใจต่อประสิทธิผลของการทำงานเป็นทีมในธุรกิจบริการ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต. 2521(1). 109-124.

Beyer, J. E., & Marshall, J. (1981). The interpersonal dimension of collegiality. Nursing outlook. 29(11). 662-665.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. 5th ed. New York : Harper Collins Publishers.
Reina, D.S. and Reina, M.L. (1999). Trust and Betrayal in the Workplace : Building Effective in Your Organization. San Francisco : Berrett Koehler.

Shaw, F. B. (1997). Trust in Balance. San Francisco : Jossey-Bass.
Published
2022-12-07
How to Cite
โพธิติ, จันทร์จิรา; อัศววิชัยโรจน์, สุทธิภัทร. ความไว้วางใจและสัมพันธภาพในองค์กรส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของบุคลากร สำนักการจราจรและขนส่งกรุงเทพมหานคร. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 7, n. 2, p. 563-578, dec. 2022. ISSN 2730-2644. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/2360>. Date accessed: 29 jan. 2025.