การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำครูในสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์

THE PROGRAM DEVELOPMENT TO ENHANCE TEACHER LEADERSHIP IN SCHOOLS UNDER KALASIN SECONDARY EDUCATION SERVICE AREA OFFICE

  • ปัณณวิชญ์ นาโสก คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สุรเชต น้อยฤทธิ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำครูในสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ 2) เพื่อพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำครูในสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ โดยการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำครูในสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 322 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามและแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ระยะที่ 2 การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำครูในสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


           ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำครูในสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์อยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำครูในสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด  และระดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุดคือ ด้านการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ด้านการพัฒนาตนเองและเพื่อนครู ด้านการมีส่วนร่วมในการพัฒนา และด้านการเป็นผู้นำด้านการสอน 2. โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำครูในสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ มีองค์ประกอบมี 5 ส่วน ดังนี้ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) วิธีการดำเนินการ 5) การวัดและประเมินผล โปรแกรมประกอบด้วย 4 โมดูล ดังนี้ 1) โมดูลด้านการพัฒนาตนเองและเพื่อนครู 2) โมดูลด้านการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง 3) โมดูลด้านการเป็นผู้นำด้านการสอน และ 4) โมดูลด้านการมีส่วนร่วมในการพัฒนา โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากและมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก

References

จักรี ต้นเชื้อ. (2555). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำของคณะกรรมการองค์การนักศึกษาอาชีวศึกษาในวิทยาลัยเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

จีระ หงส์ลดารมภ์. (2446). สู่ศตวรรษใหม่. สืบค้นเมื่อ วันที่ 20 มกราคม 2565. จากhttp://www.pdamobiz.com/ forum/forum_posts.asp?TID=6239&PN=1

เทพรังสรรค์ จันทรังษี. (2556). การพัฒนาภาวะผู้นำครูในโรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนอนุบาลสกลนคร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ผกาวลี เกียรติไกวัล. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำครูในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ไพศาล วรคำ. (2559). การวิจัยทางการศึกษา. มหาสารคาม : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ภูมิพงศ์ จอมหงส์พิพัฒน์. (2553). การพัฒนารูปแบบหลักสูตรฝึกอบรมครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการจัดการเรียนรู้ สำหรับครูในภูมิภาคเขตการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอุดมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยอดอนงค์ จอมหงส์พิพัฒน์. (2553). การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูผู้นำการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ยุพา จันทวงศ์. (2559). การพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของครู สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

อรนุช ศรีสะอาด และคณะ. (2558). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. มหาสารคาม : ตักสิลาการพิมพ์.

อาภารัตน์ ราชพัฒน์. (2554). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน.วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Katzenmeyer, M. and Moller, G. (2001). Awakening the sleeping giant: Helping teachers develop as leaders. 2nd ed. Thousand Oaks, CA : Corwin Press.

Lieberman, A. and Miller, L. (2004). Teachers : Transforming their World and their Work. New York : Teachers College Press.

York-Barr, J. and Duke, K. (2004). What do we Know about Teacher Leadership?. Findings from Two Decades of Scholarship. Review of Educational Research. 74. 282.
Published
2023-12-07
How to Cite
นาโสก, ปัณณวิชญ์; น้อยฤทธิ์, สุรเชต. การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำครูในสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 7, n. 2, p. 350-360, dec. 2023. ISSN 2730-2644. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/2316>. Date accessed: 29 apr. 2024.