ความเหลื่อมล้ำด้านสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุชายขอบในกรุงเทพมหานคร

GAPS IN SOCIAL WELFARE FOR MARGINALIZED SENIORS IN BANGKOK

  • นุวัติวงศ์ ประเสริฐสังข์ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

Abstract

           ความเหลื่อมล้ำด้านสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุชายขอบในกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาบริบทผู้สูงอายุชายขอบในกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุในต่างประเทศ และ 3) เพื่อศึกษาปรากฏการณ์สวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุชายขอบในกรุงเทพมหานคร โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลัก 67 คน และกลุ่มนักวิชาการ /ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์


           ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุชายขอบ เป็นผู้ไม่มีเลข 13 หลัก เพราะขาดการต่ออายุบัตร ขาดการแจ้งเกิด ขาดการศึกษา ขาดเทคโนโลยี ขาดโอกาส และด้วยระบบราชการที่ขาดการประชาสัมพันธ์ที่ดี ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในทุกมิติ คือ 1) ด้านการศึกษา ที่ต้องมีการลงทะเบียนและต้องซื้อชุดหรืออุปกรณ์เพื่อเข้าร่วม 2) ด้านเศรษฐกิจและทรัพย์สิน ที่สวัสดิการไม่ครอบคลุมแรงงานนอกระบบ 3) ด้านสุขภาพ ที่มีขั้นตอนซับซ้อนเกินไปในการเข้าใช้งาน 4) ด้านที่อยู่อาศัย ที่ไม่ใช่กรรมสิทธิ์ของผู้สูงอายุชายขอบ และ 5) ด้านดิจิทัล ที่ขาดความรู้ ขาดอุปกรณ์ ทำให้เข้าไม่ถึงสิทธิ์ ทั้งหมดนี้ทำให้เข้าใจถึงความเหลื่อมล้ำทางด้านสวัสดิการสังคมที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุชายขอบตามบริบทของสังคมในปัจจุบัน และเข้าใจถึงปัญหาการเข้าถึงระบบสวัสดิการรัฐ โดยเฉพาะผู้สูงอายุชายขอบในชุมชนแออัด และได้แนวทางพัฒนานโยบายด้านรัฐสวัสดิการ เพื่อสามารถนำไปเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติจริงได้ ทั้งนี้เพื่อลดความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้น ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพื่อไปสู่ ความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนได้

References

กุลภา วจนสาระ และกฤตยา อาชวนิจกุล. (2555). ประชากรชายขอบและความเป็นธรรมในสังคมไทย. นครปฐม : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

พภัสสรณ์ วรภัทร์ถิระกุล. (2560). การบริหารจัดการภาครัฐไทยภายใต้ระบบรัฐสวัสดิการ. กรุงเทพฯ : คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

อเล็กซานเดอร์ เพทริง และคณะ. (2562). รัฐสวัสดิการกับสังคมประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ : มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท สำนักงานประเทศไทย.

Asa Briggs. (1961). The welfare state in historical perspective. European Journal of Sociology. 2. 221-258.

Hwang, G. J. (2011). New Welfare States in East Asia: Global Challenges and Restructuring. London : MPG Books Group.

John Williamson. (1990). How Much Has Happened?. Washington : Institute for International Economics.

Kim, M. M. S. (2016). Comparative Welfare Capitalism in East Asia: Productivism Models of Social Policy. London : Palgrave Macmillan.

Max Weber. (1947). The Theory of Social and Economic Organizations. New York : Free Press.

Spivak, G. C. (1988). Can the subaltern speak? In Cary Nelson and Lawrence Grossberg (Eds). Columbia : Columbia University Press.
Published
2022-09-08
How to Cite
ประเสริฐสังข์, นุวัติวงศ์. ความเหลื่อมล้ำด้านสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุชายขอบในกรุงเทพมหานคร. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 7, n. 2, p. 129-138, sep. 2022. ISSN 2730-2644. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/2295>. Date accessed: 03 july 2024.