การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดโสมนัส ระหว่างวิธีการสอนแบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD กับการสอนแบบปกติ

Comparison of reading ability of primary school grade 4 Watsomanut school between the teaching methods of technical cooperation (STAD) with regular teaching

  • พระมหาแมนมิตร อาจหาญ นักวิชาการอิสระ

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความวิชาภาษาไทย ระหว่างกลุ่มที่สอนโดยวิธีสอนแบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD กับการสอนแบบปกติ (2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความวิชาภาษาไทย ก่อนและหลังเรียนด้วยวิธีสอนแบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD (3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความวิชาภาษาไทย ก่อนและหลังเรียนด้วยการสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดโสมนัส กรุงเทพมหานคร ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 2 ห้อง รวม 30 คน เครื่องมือที่ใช้มี 3 ชนิด ประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความ ด้วยวิธีการสอนแบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD จำนวน 5 แผน ใช้เวลาสอนแผนละ 2 ชั่วโมง รวมเวลา 10 ชั่วโมง (2)แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ เรื่องการอ่านจับใจความ (3) แบบวัดความสามารถในการอ่านจับใจความวิชาภาษาไทยก่อนเรียนและหลังเรียน เป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่า t- test


ผลการวิจัยพบว่า (1) ความสามารถการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ของกลุ่มที่สอนโดยวิธีสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ เทคนิค STAD สูงกว่าการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) ความสามารถการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 4 ที่สอนโดยวิธีสอน แบบร่วมมือกันเรียนรู้ เทคนิค STAD ก่อนและหลังเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 โดยคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน (3)ความสามารถในการอ่านจับใจความ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดโสมนัส กลุ่มที่ได้รับการสอนแบบปกติ ก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


Abstract


This research aims to (1) compare the ability to read Thai between The teaching methods of technical cooperation (STAD) with regular teaching. (2) to compare the ability to read the Thai language. Before and after learning by cooperative group teaching technique STAD ( 3) to compare the ability to read the Thai language. Before and after classes with the regular teaching of primary school grade4 watsomanut school Bangkok. The sample was used in the research is .student of primary school grade4 watsomanut school 1st semester of academic year 2017 two classrooms total 30 person This is derived from a simple sampling method. Method of drawing a group to experiment.one classes total 15 person and 1 control group total 15 person There are 3 types of method (1) Learning Management Plan The method of teaching a group of technical cooperation STAD. 5 plan 2 hours per lesson for a total of 10 hours. (2) Normal Learning Management Plan main point Reading comprehension (3) the ability to read the Thai language Before and after learning is multiple test 4 Choice total 30 question Statistics used in data analysis is Mean, percentage, standard deviation, t-test.


The results showed that (1) The ability to read of students primary school grade4 Taught by Cooperative method Technical STAD Before and after classes There was a statistically significant difference at .01 level by the average score was higher than the previous classes. (3) ability to reading of student primary school grade4 watsomanut school The group is taught normally. There were statistically significant differences at .05 level.

Published
2017-12-29
How to Cite
อาจหาญ, พระมหาแมนมิตร. การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดโสมนัส ระหว่างวิธีการสอนแบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD กับการสอนแบบปกติ. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 5, n. 2, p. 159-171, dec. 2017. ISSN 2408-199X. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/edj/article/view/162>. Date accessed: 19 apr. 2024.