วิเคราะห์ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม

Analysis of The Progressivism Philosophy

  • ปวริศร์ โชติพงษ์วิวัฒิ Profesional of Rehabilitation Medivcine at Rangsit Hospita

Abstract

บทความนี้ มีชื่อเรียกว่า วิเคราะห์ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาเสรีภาพของมนุษย์ ตามปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม กับแนวคิดเรื่องโพธิจิต ใน 2 ประเด็น คือ 1) ความรู้กับความเป็นจริง 2) เป้าหมายของการศึกษากับเจตจำนงเสรี


จากการศึกษาพบว่า ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยมยืนยันเสรีภาพจำเป็นต่อการศึกษา เพราะการศึกษาคือชีวิตไม่ใช่เตรียมพร้อมเพื่อชีวิต ดังนั้น ความรู้ต้องไม่ใช่ความเป็นจริงตายตัว แต่เปลี่ยนแปลงตามประสบการณ์ของแต่ละคน  ความรู้เกิดจากประสบการณ์ของผู้เรียน ดังนั้น เป้าหมายและวิธีการศึกษา เป็นเจตจำนงของผู้เรียนไม่ใช่เจตจำนงของครู เพื่อการเรียนรู้ร่วมกับคนอื่นได้ แต่ถูกโต้เเย้งโดยปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม เพราะการศึกษาเป็นเครื่องมือสืบทอดมรดกของสังคม ดังนั้น ความรู้จึงเป็นการเข้าถึงความเป็นจริงอันตายตัวด้วยสติปัญญา เป้าหมายและวิธีการศึกษาคือพัฒนาสติปัญญาตามเจตจำนงครูผู้ถ่ายทอดความรู้ เพื่อการดำรงอยู่ได้ของสังคมอย่างไรก็ตาม การพิจารณาข้อโต้เเย้งตามแนวคิดเรื่องโพธิจิต พบว่า ความรู้ไม่ใช่สิ่งตายตัว เป้าหมายและวิธีการศึกษา คือ การปรับตัวเข้ากับความเปลี่ยนเเปลงได้ โดยไม่ปฏิเสธเจตจำนงของทุกคน เพื่ออยู่รวมกันได้โดยไม่ขัดเเย้ง


จากการศึกษาผู้เขียนสนับสนุนปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม เพราะการจำกัดเสรีภาพของผู้เรียนด้วยอำนาจของครูเพียงฝ่ายเดียวทำให้เกิดความขัดเเย้ง การกำหนดความรู้โดยคำนึงถึงเสรีภาพของผู้เรียนนั้นไม่ผิด เพราะโดยธรรมชาติแล้ว มนุษย์ไม่อาจใช้เป็นวิถีบรรลุเป้าหมายของใครได้ ข้อเสนอของผู้เขียน คือ ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยมควรละวางความยึดมั่น แม้ความเป็นประชาธิปไตยก็ไม่ควรยึดถือ เพราะความยึดมั่นทำให้มนุษย์ปฏิเสธเจตจำนงของคนอื่นเสมอเป็นความขัดเเย้ง นปิดกั้นโอกาสทางการศึกษา


Abstract


This article aims to study and analyze the problems of human freedom according to the progressivism philosophy and the concept of enlightenment in two dimensions: 1) the knowledge of the truth, 2) goals of education and free will. The result of the studies found that progressivism philosophy emphasis on freedom of education because education is not sustainable and preparing for life but the experience of individuality. Students will receive knowledge and wisdom by their own intellectual by setting goals and methods for developing themselves depend on their free wills. From the progressivism’s perspective the teachers’ role is to construct knowledge, therefore, the learners can adapt themselves for peaceful living without confliction under the changing of the society. In short, progressive philosophy points out people to leave clinging doctrine, eventually democracy because it will deny the freedom of people learning thus might blocking educational opportunities.

Published
2017-12-29
How to Cite
โชติพงษ์วิวัฒิ, ปวริศร์. วิเคราะห์ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 5, n. 2, p. 90-98, dec. 2017. ISSN 2408-199X. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/edj/article/view/157>. Date accessed: 27 dec. 2024.