การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของครู สำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม

DEVELOPMENT OF A PROGRAM FOR STRENGTHEN TEACHER IN ENGLISH INSTRUCTIONAL TO ENHANCE COMMUNICATIVE ABILITY FOR SCHOOL IN THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE MAHASARAKHAM

  • นันทนัช วิเชียรเพริศ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • กาญจน์ เรืองมนตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อความสามารถในการสื่อสาร 2) เพื่อพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างทักษะครูในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อความสามารถในการสื่อสารสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์  และความต้องการจำเป็นด้านการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อความสามารถในการสื่อสารระยะที่ 2 การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างทักษะครูในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อความสามารถในการสื่อสารกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูภาษาอังกฤษในสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม จำนวน 118 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ จำนวน 4 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรมสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความสอดคล้องสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคและค่าดัชนีจัดเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (PNImodified)  


           ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อความสามารถในการสื่อสาร โดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อความสามารถในการสื่อสาร โดยรวมอยู่ในระดับมากและลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างทักษะครูในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อความสามารถในการสื่อสาร สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคามเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) ความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ 2) ทักษะการจัดการเรียนรู้ 3) เจตคติต่อการจัดการเรียนรู้ และ 4) และบุคลิกภาพในการจัดการเรียนรู้ ตามลำดับ และ 2. โปรแกรมเสริมสร้างทักษะครูในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อความสามารถในการสื่อสาร สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา แบ่งออกเป็น 4 Module ได้แก่ Module 1 ความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ Module 2 ทักษะการจัดการเรียนรู้ Module 3บุคลิกภาพในการจัดการเรียนรู้ และModule 4เจตคติต่อการจัดการเรียนรู้4) กระบวนการพัฒนาตามหลักการและวิธีการพัฒนาครู 70 : 20 : 10 Learning Model ประกอบด้วย การเรียนรู้และพัฒนาผ่านหลักสูตรหรือโปรแกรมการพัฒนา (10%) โดยการฝึกอบรม การเรียนรู้และพัฒนาผ่านบุคคลอื่น ๆ (20%) โดยการศึกษาดูงานและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการเรียนรู้จากการปฏิบัติและพัฒนาผ่านประสบการณ์ (70%)โดยการเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนรู้จากการปฏิบัติงาน และ5) การประเมินผล ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรมเสริมสร้างทักษะครูในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อความสามารถในการสื่อสาร สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม โดยรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด

References

เจนจิรา คงสุข. (2540). การพัฒนาโปรแกรมการศึกษาสำหรับผู้ปกครองในการสงเสริมพัฒนาการทางร่างกายของเด็กวัยอนุบาล ด้วยรูปแบบการให้ประชาชนในชนบทมีสวนรวมในการแก้ปัญหา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธูปทอง กว้างสวาสดิ์. (2558). กิจกรรมสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นุดจนาจ สัพโส. (2561). การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27.วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปรีชาวัตร์ ไชยนาน. (2563). การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูภาษาอังกฤษด้านการสอนภาษาแบบเน้นภาระงานสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 นครพนม. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พิมพิกาจันทไทย. (2558). การพัฒนาโปรแกรมการพัฒนาทีมงานครูที่มีประสิทธิผล สำหรับโรงเรียนเทศบาล. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาสารคาม.

ยอดอนงค์ จอมหงษ์พิพัฒน์. (2553). การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูผู้นำการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการการศึกษา. คณะครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครสกลนคร.

ศรายุทธ สุภะโส. (2560). หลักสูตรพัฒนาครูในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศักดิ์ดา คำโส. (2557).การพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจทีมงานในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการปฏิบัติงานข้าราชการครู. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). คู่มือประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558).แนวทางการจัดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่เน้นสมรรถนะทางสาขาวิชาชีพ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). คู่มือการประเมินสมรรถนะครู. กรุงเทพฯ : สำนักพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). คู่มือแนวทางการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตามความเข้มข้น 3 ระดับสู่สากล.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สุมิตรา พงศธร. (2550). สรุปเรื่องของหลักสูตร. สภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย. 2(79). 15-23.

สุมิตรา อังวัฒนกุล. (2540).วิธีสอนภาษาอังกฤษ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์. (2554). การพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารสายสนับสนุนสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

หรรษา สุขกาล. (2543). การพัฒนารูปแบบโปรแกรมระหว่างเรียนเพื่อสงเสริมจริยธรรมของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตในสถาบันอุดมศึกษาสังกัด ทบวงมหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอุดมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Caffarella, Rosemarys. (2002). Planning: Programs for Adult Learners: A Practical Guide for Educators Trainers and Staff Developers. San Francisco : Jossey-Bass Publishers.

Morley, J. (2001). Aural comprehension instruction: Principles and practices. In M.Celce Murcia (Ed.), Teaching English as a second or foreign language. 3rded. Boston : Heinle&Heinle Publishers.

Read, C. (2007). 500 Activities for the primary classroom. Oxford : Macmillan.
Published
2023-01-03
How to Cite
วิเชียรเพริศ, นันทนัช; เรืองมนตรี, กาญจน์. การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของครู สำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 7, n. 2, p. 616-629, jan. 2023. ISSN 2730-2644. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/2338>. Date accessed: 05 oct. 2024.