ความต้องการจำเป็นและแนวทางการพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2

NEEDS AND GUIDELINES DEVELOPMENTAL FOR THE PARTICIPATORY ADMINISTRATION OF SMALL EDUCATIONAL INSTITUTIONS THE SCHOOL UNDER KHON KAEN PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 2

  • สุรศักดิ์ เทียงดี มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • วิเชียร รู้ยืนยง มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวนทั้งสิ้น 344 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร 15 คน ครูผู้สอน จำนวน 141 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาจำนวน 188 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


          ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 สภาพปัจจุบัน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากสภาพที่พึงประสงค์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ความต้องการจำเป็นโดยเรียงความสำคัญเป็นดังนี้ ด้านการมีส่วนร่วมดำเนินการด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผลและด้านการมีส่วนร่วมรับผิดชอบและรับผลประโยชน์ ตามลำดับ 2. แนวทางการการบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2ควรดำเนินการในเรื่องต่อไปนี้1) ด้านการมีส่วนร่วมดำเนินการ 2) ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ 3) ด้านการมีส่วนร่วมติดตามประเมินผล และ 4) ด้านการมีส่วนร่วมรับผิดชอบและผลประโยชน์

References

เฉลิมพล จันดา. (2560).การพัฒนาแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ทับทิม แสงอินทร์. (2559). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนสรวงสุทธาวิทยา จังหวัด สุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2. (2562). แผนการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก ปีการศึกษา 2562-2565. ขอนแก่น : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). แผนบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์วิทยาลัย.

อมรภัค ปิ่นกำลัง. (2560). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนเรียนรวมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อมรรัตน์ กงกาบ.(2561). การบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาดอยหลวง จังหวัดเชียงราย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะวิทยาลัยการศึกษา : มหาวิทยาลัยพะเยา.

Taro, Yamane. (1973). Statistics. An introductory analysis. 3rd ed. New York : Harper And Row Publication.
Published
2022-10-06
How to Cite
เทียงดี, สุรศักดิ์; รู้ยืนยง, วิเชียร. ความต้องการจำเป็นและแนวทางการพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 7, n. 2, p. 414-424, oct. 2022. ISSN 2730-2644. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/2322>. Date accessed: 29 apr. 2024.