การบริหารงานวิชาการตามหลักไตรสิกขาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2

ACADEMIC ADMINISTRATION BASED ON THE THREEFOLD TRAINING OF SCHOOL ADMINISTRATORS UNDER ROI ET PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 2

  • ศศิวิมล ศรีสนธ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • กฤตยากร ลดาวัลย์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการตามหลักไตรสิกขาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อการบริหารงานวิชาการตามหลักไตรสิกขาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 จำแนกตาม ตำแหน่ง, ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน 3) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารงานวิชาการตามหลักไตรสิกขาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน 336 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่า IOC ระหว่าง 0.67 – 1.00 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.935 และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  สถิติทดสอบค่าที (t-test) และสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว F-test (One-Way ANOVA)


           ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการบริหารงานวิชาการตามหลักไตรสิกขาของผู้บริหารสถานศึกษา มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากสูงสุดไปต่ำสุด ได้แก่ ด้านการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา รองลงมาคือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา และด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ตามลำดับ 2. ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นที่มีต่อการบริหารงานวิชาการตามหลักไตรสิกขาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 จำแนกตามตำแหน่ง ระดับการศึกษา และประสบการณ์ โดยรวมไม่แตกต่างกัน 3. แนวทางการบริหารงานวิชาการตามหลักไตรสิกขาของผู้บริหารสถานศึกษา ได้จากการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างผู้บริหารสถานศึกษา ได้แนวทาง ดังนี้ 1) ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา มีการสร้างบริบททางวิชาการที่เป็นเลิศในสถานศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม เน้นการใช้สื่อการเรียนการสอน 2) ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ มีการสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนที่เต็มไปด้วยความอบอุ่น กระตุ้นให้ผู้เรียนรักการเรียน สร้างแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย 3) ด้านการวัดผลประเมินผล มีการวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ที่หลากหลายสอดคล้อง ครอบคลุมตัวชี้วัดและมาตรฐานการเรียนรู้ 4) ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการ มีการจัดการเรียนรู้สื่อการสอนและแหล่งเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้มีโอกาสพัฒนาตนเองสู่มาตรฐานการเรียนรู้และเหมาะสมกับศักยภาพของผู้เรียน 5) ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา มีการกำหนดนโยบายด้านการวิจัยที่ชัดเจน ส่งเสริมให้ครูทำผลงานประกวดในระดับต่างๆ 6) ด้านการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษามีการกำหนดระบบและกลไกลที่ยึดถือปฏิบัติร่วมกันมีการกำกับ ติดตาม อย่างเป็นระบบแบบแผนที่กำหนด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553 และ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2562. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

กฤตยากร ลดาวัลย์, วิมลพร สุวรรณแสนทวี และธีรภัทร์ ถิ่นแสนดี. (2561). รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาผู้เรียนตามหลักไตรสิกขา โรงเรียนมัธยมศึกษากลุ่มร้อยแก่นสารสินธุ์. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์. 20(1). 87-97.

กิตติพงษ์ แคนสิงห์, กฤตยากร ลดาวัลย์. (2564). การบริหารงานวิชาการตามหลักไตรสิกขาในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 1(2). 1-12.

ณัฐวิภา เครือวรรณ, กฤตยากร ลดาวัลย์, สุเทพ เมยไธสง. (2564). การบริหารงานวิชาการตามหลักไตรสิกขาของโรงเรียนในกลุ่มส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 10(2). 312-323.

ณัฐวิภา เครือวรรณ. (2563). การบริหารงานวิชาการตามหลักไตรสิกขาของโรงเรียนใน กลุ่มส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2555). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

พระอธิการสกายแลบ ธมฺมธโร. (2561). แนวทางในการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาตามหลักไตรสิกขาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. (2563). แผนปฏิบัติการประจำปี 2563. ร้อยเอ็ด : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2.

สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2552). 19 วิธีจัดการเรียนรู้ : เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.
Published
2022-11-07
How to Cite
ศรีสนธ์, ศศิวิมล; ลดาวัลย์, กฤตยากร. การบริหารงานวิชาการตามหลักไตรสิกขาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 7, n. 2, p. 338-349, nov. 2022. ISSN 2730-2644. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/2315>. Date accessed: 29 apr. 2024.