การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์

DEVELOPING A PROGRAM TO ENHANCE INNOVATIVE LEADERSHIP OF SCHOOL ADMINISTRATORS UNDER THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE KALASIN

  • มาลิตา พรมโสภา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ธรินธร นามวรรณ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Abstract

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ 2) เพื่อพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ การวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 321 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ระยะที่ 2 การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิโดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรม สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น


          ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ โดยรวม 5 ด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการมีบุคลิกภาพเชิงนวัตกรรม ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการมีทักษะการคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรมและความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา เรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการมีทักษะการคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม ด้านการมีวิสัยทัศน์เชิงนวัตกรรมด้านการทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วมเชิงนวัตกรรมด้านการแสดงบทบาทหน้าที่เชิงนวัตกรรมและด้านการมีบุคลิกภาพเชิงนวัตกรรม 2. โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ ประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ 1) หลักการของโปรแกรม2) เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโปรแกรม3) เนื้อหากิจกรรมของโปรแกรม 4) กระบวนการพัฒนาของโปรแกรมและ 5) การประเมินผลของโปรแกรมโดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น 5 Module ได้แก่ Module 1 การมีวิสัยทัศน์เชิงนวัตกรรมModule 2 การทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วมเชิงนวัตกรรมModule 3 การมีทักษะการคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรมModule 4 การแสดงบทบาทหน้าที่เชิงนวัตกรรมModule 5 การมีบุคลิกภาพเชิงนวัตกรรม

References

กนกพิชญ์ สรรพศรี. (2565). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์. 6(1). 27-38.

กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์. (2565). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565. กาฬสินธุ์ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์.

จีระศักดิ์ นามวงษ์. (2563). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธีระ รุญเจริญ. (2557). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษาในยุคปฏิรูปการศึกษา เพื่อปฏิรูปรอบ 2 และประเมินภายนอกรอบ 3. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์. ข้าวฟ่าง.

นพรัตน์ มูลศรีแก้ว. (2563). การเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัย ราชภัฏนครราชสีมา. 15(1). 195-208.

บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2543). นวัตกรรมการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : อารุเอส พริ้นติ้ง.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). กรอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

Charney, C. and K. Conway. (2005). The Trainer’s Tool Kit. 2nd ed. New York : American Management Association.

Helena Bulinska-Stangrecka. (2018). The Role of Leadership in Developing Innovation Potential. International Journal of Economics, Business and Management Research. 2(3). 270-289.

Krejcie, R.V. and D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.

Weiss, S. D. and Legand, P.C. (2011). Innovative Intelligence. Ontario : John Wiley and Sons Canada, Ltd.
Published
2022-09-08
How to Cite
พรมโสภา, มาลิตา; นามวรรณ, ธรินธร. การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 7, n. 2, p. 207-218, sep. 2022. ISSN 2730-2644. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/2301>. Date accessed: 29 apr. 2024.