การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารงานท้องถิ่น:กรณีศึกษาเทศบาลเมืองหนองบัวลำภู อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู

Administration And Management By Good Governance Of Local Administrators In The Case Study Of in Muang NongBua Lamphu Municipality In NongBua Lamphu District Of NongBua Lamphu  Province

  • พิชัยรัฐ หมื่นดวง บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยพิชยบัณฑิต

Abstract

บทคัดย่อ


       การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารงานท้องถิ่นเทศบาลเมืองหนองบัวลำภู จ.หนองบัวลำภู 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารงานท้องถิ่นเทศบาลเมืองหนองบัวลำภู จ.หนองบัวลำภู โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคล ตามหลักธรรมมาภิบาล ประกอบ 6 ด้าน 1) หลักนิติธรรม 2) หลักคุณธรรม 3) หลักความโปร่งใส 4)  หลักการมีส่วนร่วม 5) หลักความรับผิดชอบ 6) หลักความคุ้มค่า จำนวนประชาชน  ทั้งหมด  45,464 คน กลุ่มตัวอย่างใช้ สูตร (Taro Yamane, 1976) จำนวน 397 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานใช้การทดสอบ ค่าที (t-test) และความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) และวิเคราะห์หาความแตกต่างรายคู่โดยใช้วิธีทดสอบ LSD โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการศึกษาพบว่า      


  1. ระดับการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารงานท้องถิ่น เทศบาลเมืองหนองบัวลำภู อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก  มีค่าเฉลี่ย = 4.18 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า หลักนิติธรรม  มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย = 4.47 รองลงมาคือ หลักความรับผิดชอบ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย = 4.39 หลักความคุ้มค่า อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย = 4.16 หลักความโปร่งใส อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย = 4.14, หลักการมีส่วนร่วม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย = 4.05 และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ หลักคุณธรรม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย = 3.97

  2. ผลการเปรียบเทียบ พบว่าปัจจัยส่วนบุคคล อายุ ระดับการศึกษา อาชีพและรายได้ต่อเดือน ต่างกัน มีการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล ของผู้บริหารงานท้องถิ่น เทศบาลเมืองหนองบัวลำภูแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 ปัจจัยส่วนบุคคล เพศ  สถานภาพสมรส ต่างกัน มีการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารงานท้องถิ่น เทศบาลเมืองหนองบัวลำภู  จ.หนองบัวลำภู ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract


          The objectives of this research were: 1) to study the levels of administration and management of local administrator in Muang Nongbua Lamphu Municipality of Nongbua Lamphu  and 2) to compare the levels on administration and management by good governance of local administrators in Muang Nongbua Lamphu Municipality of Nongbua Lamphu Province by diving on personal factor and good governance for 6 aspects as follows : 1, legal principle, 2, moral principle, 3, transparent principle, 4, participial principle, 5, responsible principle and 6, worthy principle. The total people were 45,464 persons. The samples were 397 persons by regulation of Taro Yamane 1976. The instruments using in this study were questionnaris. The analysis of data included frequency, percentage, mean and standard deviation. Hypothesis testing using t-test, f-test (ONE WAY ANOVA) and analysis of couple different by testing of least significant difference(LSD) on limit of level and was statistical significance at.05 level. The results of findings were as follows:


  1. For overall of the levels on administration and management by good governance of local administrators in Muang Nongbua Municipality of Muang District in Nongbua Lamphu Province were in high level at average of (= 4.18).Considering on each aspect, the aspect of legal principle was in the highest level at average of ( 4.47).The NeXTs were responsible principle was at the highest level in average of ( 4.39 ).the worthy principle was at highest level in average of 4.16 level, the transparent principle was at highest level in average of (4.14 ).the participial principle was at highest level in average of (4.05) and the aspect of the lowest level was the moral principle was in average of (3.97).

  1. The results on comparison were found that the difference on personal factor, age, educational level, occupation and monthly income of local administrator on administration and management by good governance in Muang Nongbua Lamphu Municipality was statistical significance at .01 level. The difference on personal factor, gender, marital status of local administrator on administration and management by good governance in Muang Nongbua Lamphu Municipality was statistical significance difference at .05 level.

Published
2018-08-14
How to Cite
หมื่นดวง, พิชัยรัฐ. การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารงานท้องถิ่น:กรณีศึกษาเทศบาลเมืองหนองบัวลำภู อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 6, n. 1, p. 255-270, aug. 2018. ISSN 2408-199X. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/edj/article/view/227>. Date accessed: 19 jan. 2025.