ผลกระทบของการปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม (TFRS for SMEs) ที่มีต่อคุณภาพรายงานทางการเงิน ของผู้ทำบัญชีในกรุงเทพฯ/นนทบุรี
ผลกระทบของการปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม (TFRS for SMEs) ที่มีต่อคุณภาพรายงานทางการเงิน ของผู้ทำบัญชีในกรุงเทพฯ/นนทบุรี
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลกระทบของการปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม (TFRS for SMEs) ที่มีต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของผู้ทำบัญชีในกรุงเทพฯ/นนทบุรี กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ทำบัญชีในเขตกรุงเทพมหานครและนนทบุรี (คงอยู่) จำนวน 287 คน พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ช่วงอายุ 41-50 ปี มีระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญา มีประสบการณ์ในการทำงานด้านการบัญชีมากกว่า 15 ปี และมีความรู้เพิ่มเติมในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยผู้ทำบัญชี มีความรู้ความเข้าใจในทุกด้านตามขอบเขตที่ศึกษาของมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม (TFRS for SMEs) และมีระดับระดับความเห็นต่อการปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม (TFRS for SMEs) 1) ด้านการนำเสนองบการเงิน ประกอบด้วย มิติการจัดทำงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ อยู่ในระดับมาก มิติการจัดทำงบกระแสเงินสด อยู่ในระดับมากที่สุด มิติการจัดทำงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ อยู่ในระดับมาก และมิติการเปิดเผยข้อมูลของบุคคลและกิจการที่เกี่ยวข้องกัน อยู่ในระดับมากที่สุด 2) ด้านการวัดมูลค่าสินทรัพย์และหนี้สิน ทุกมิติอยู่ในระดับมาก และ 3) การรับรู้รายได้และค่าใช้จ่าย ประกอบด้วย มิติการรับรู้รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ อยู่ในระดับมาก มิติโปรแกรมสิทธิพิเศษแก่ลูกค้า อยู่ในระดับมาก มิติผลประโยชน์ของพนักงาน อยู่ในระดับปานกลาง มิติการจ่ายโดยใช้หุ้นเป็นเกณฑ์ อยู่ในระดับมาก และมิติภาษีเงินได้ อยู่ในระดับมาก นอกจากนี้มีความเห็นต่อคุณภาพรายงานทางการทุกด้านอยู่ในระดับมาก เว้นแต่ ด้านความเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรมและด้านความสามารถพิสูจน์ยืนยันได้ อยู่ในระดับมากที่สุด
ลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย