การพิจารณาความทุกข์ในการพัฒนาด้านสังคม

  • พระมหาใจสิงห์ สิริธมฺโม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น

Abstract

           มนุษย์ทุกเผ่าพันธุ์ล้วนพัฒนาขึ้นมาจากกองทุกข์ในอดีตกาลกว่าที่สังคมโลกจะเป็นสังคมเทคโนโลยีอยู่ในขณะนี้ คนเราต้องเผชิญหน้ากับความทุกข์มาแล้วไม่รู้สักกี่ครั้งกี่หน จากยุคอดีตคนเราต้องเผชิญหน้ากับธรรมชาติอันทารุณจากความร้อนและความหนาวเผชิญหน้ากับความหิว เผชิญหน้าจากภัยพิบัติทั้งน้ำท่วม ภูเขาฟระเบิด ภัยหนาวและภัยแล้ง ความทุกข์ทำให้มนุษยชาติมีพัฒนาการจากเดิมทำได้แต่พเนจรล่าสัตว์ไปตามท้องที่ต่างๆ ก็เริ่มหันมาเพาะปลูกธัญญาหาร คนที่อยู่บนภูเขาสูงก็อพยพกลับลงมายังพื้นที่ลุ่มใกล้แม่น้ำ ปักหลักฐานเป็นหลักแหล่ง คนที่เคยตากแดด ตากลม ตากฝน ต้องทนร้อนหนาวก็เริ่มเสาะหาที่อยู่อาศัย จากนอนกลางดินกินกลางทราย เปลี่ยนมาอยู่ในถ้ำ กลายเป็นบ้าน เป็นคฤหาสน์ในปัจจุบัน ความทุกข์ก่อให้เกิดพัฒนาการต่างๆ ของโลกอย่างมากมาย ดังจะเห็นได้จากในยุคดึกดำบรรพ์มนุษย์มนุษย์ไม่มีถิ่นที่อยู่อาศัยถาวร จะเดินทางเร่ร่อนไปตามที่ต่างๆ ที่มีน้ำและอาหารอุดมสมบูรณ์และหวังเพียงให้ชีวิตปลอดภัยจากศัตรูภัยอันตรายเมื่อเกิดความทุกข์คือความกลัวทั้งกลัวการอดอยากทำให้มนุษย์เกิดการรวมตัวเป็นชุมชนหรือกลุ่มเมือง อยากร่ำรวยก็ทำให้การเดินทางเพื่อการค้าขายและการแลกเปลี่ยนสินค้า

References

กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ. (2525). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง เล่มที่ 20, พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 12, อังคุตตรนิกายเอก-ทุก-ติกนิบาตร. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2548). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสตร์ ชุด คำวัด. กรุงเทพฯ : วัดราชโอรสาราม.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2538). พุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต).(2543). จะพัฒนาคนกันอย่างไร?. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2545). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : บริษัทสื่อตะวัน จำกัด.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต).(2546). พุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร : พิมพ์ บริษัทสหธรรมิก จำกัด.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2543). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพุทธโฆสเถระ. (2548). คัมภีรวิสุทธิมรรค แปลและเรียบเรียงโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร). พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : บริษัท ธนาเพรส จำกัด.

พระมหาเกษม สญฺญโต (ลักษณะวิลาศ). (2534). การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องทุกข์ในพระพุทธศาสนา.วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระมหาปองปรีดา ปริปุณโณ. (2545). การป้องกันและการรักษาโรคตามหลักพระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อธิเทพ ผาทา. (2549). การศึกษารูปแบบและกระบวนการแก้ปัญหาในพระพุทธศาสนาเถรวาท : ศึกษาเฉพาะกรณี อธิกรณสมถะ 7 และกฎนิคหกรรมของมหาเถรสมาคมในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฏีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Published
2020-05-21
How to Cite
สิริธมฺโม, พระมหาใจสิงห์. การพิจารณาความทุกข์ในการพัฒนาด้านสังคม. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 4, n. 1, p. 64-79, may 2020. ISSN 2730-2644. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/831>. Date accessed: 22 nov. 2024.
Section
Academic Article