การเสริมสร้างความสามัคคีของชุมชนตามหลักสาราณียธรรม 6 อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
STRENGTHENING THE UNITY OF COMMUNITIES BASED ON SARANIYADHARMA AT PRASAT DISTRICT, SURIN PROVINCE
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการเสริมสร้างความสามัคคีของผู้นำท้องถิ่นตามหลักสาราณียธรรม 6 2) เพื่อเปรียบเทียบการเสริมสร้างความสามัคคีของผู้นำท้องถิ่นตามหลักสาราณียธรรม 6 จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษาและตำแหน่ง และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการเสริมสร้างความสามัคคีของผู้นำท้องถิ่นตามหลักสาราณียธรรม 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาชิกสภาเทศบาล สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครพัฒนาชุมชน และผู้นำทางศาสนา ในอำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางเครจซี่และมอร์แกน จำนวน 260คน การวิจัยเป็นแบบผสม ทั้งวิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้เครื่องมือแบบสอบถาม และเชิงคุณภาพ โดยการใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ) และแบบสอบถาม เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่ามี 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงเฉลี่ย เท่ากับ 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ เพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ t-test และ F-test
ผลการวิจัยพบว่า 1. การเสริมสร้างความสามัคคีของผู้นำท้องถิ่นตามหลักสาราณียธรรม 6 โดยภาพรวมและรายด้านมีการดำเนินการ อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านเมตตากายกรรม ด้านเมตตาวจีกรรม ด้านเมตตามโนกรรม ด้านสาธารณโภคี ด้านสีลสามัญญตา และด้านทิฏฐิสามัญญตา 2. ผลการเปรียบเทียบการเสริมสร้างความสามัคคีของผู้นำท้องถิ่นตามหลักสาราณียธรรม 6 ผู้นำท้องถิ่นที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษาและตำแหน่งต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการเสริมสร้างความสามัคคีของผู้นำท้องถิ่นตามหลักสาราณียธรรม 6 อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน 3. แนวทางการเสริมสร้างความสามัคคีของผู้นำท้องถิ่นตามหลักสาราณียธรรม 6 ผู้นำท้องถิ่นจะต้องยึดหลักธรรม เมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม เมตตามโนกรรม ต้องมีสาธารณโภคีตา คือ เมื่อได้ของมาก็ต้องแบ่งปัน ต้องเคารพสิทธิผู้อื่นทั้งต่อหน้าและลับหลังต้องมีจุดมุ่งหมายที่มุ่งเน้นการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุขต้องยึดหลักทิฐิสามัญญตา รู้จักปรับความเห็นให้เข้ากันได้ทุกฝ่าย ยอมรับฟังคำชี้แนะจากคนอื่น ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการเคารพกฎหมาย กฎกติกาของบ้านเมืองอย่างเคร่งครัดต้องมีศีล สมาธิ และปัญญา ที่จะพัฒนาตนเองและสังคมไปสู่จุดหมาย ตระหนักในความรับผิดชอบ
References
ทิพวรรณ พฤฒากรณ์. (2562). การเสริมสร้างความสามัคคีในสังคมไทย. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. 2(3). 92-107.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10 แก้ไขเพิ่มเติม. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
พระครูนนทวีรวัฒน์ วีรธมฺโม. (2553). การบริหารงานเทศบาล ตำบลตามหลักสาราณียธรรม 6 :กรณีศึกษาเทศบาลตำบลปลายทาง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการเชิงพุทธ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูนิกรสุนทรกิจ (สมพงษ์ นุ่มสกุล). (2553). การวิเคราะห์เรื่องความความสามัคคีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูสุนทรธรรมนิทัศน์. (2557). กระบวนการปลูกฝังความสามัคคีเชิงพุทธแก่นักเรียนประถมศึกษาในจังหวัดแพร่. แพร่ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่.
พระเอกพันธ์ ปญญาภทรฺเมธี (แพงมาก). (2561). การสร้างความสามัคคีโดยใช้หลักศีล 5 ของชุมชนหมู่บ้านปรือคันตะวันออก อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วีระ อำพันสุข. (2551). การประยุกต์พุทธธรรม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ B.E.C.
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์. (2564). ข้อมูลพื้นฐานอำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2564. จาก https://district.cdd.go.th/prasat/about-us/