รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนด้วยความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย วิทยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัย
A MODEL FOR PROFESSIONAL COMPETENCY DEVELOPMENT OF LEARNERS IN COOPERATION WITH NETWORK PARTNERS KASETWISAI TECHNICAL COLLEGE
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนด้วยความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย วิทยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัย สร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนด้วยความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย วิทยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัย และทดลองใช้และประเมินผลรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนด้วยความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย วิทยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษา ครู และพนักงานราชการ/ลูกจ้าง ผู้ประกอบการ ผู้นำชุมชน นักศึกษา นักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนด้วยความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย วิทยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัย แบบสอบถาม และแบบประเมินความสอดคล้อง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนด้วยความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย วิทยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัย ได้แก่ ด้านลักษณะที่พึงประสงค์ ด้านสมรรถนะแกนกลาง ด้านสมรรถนะวิชาชีพ ด้านความร่วมมือภาคีเครือข่าย 2) รูปแบบที่ได้จากผลการวิจัย ข้อที่ 1 เอาปัจจัยตัวที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดมาพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนด้วยความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายประกอบด้วยกิจกรรม 5 กิจกรรม 1) กิจกรรมการปฐมนิเทศ 2) การพัฒนาศักยภาพการทำงานเป็นทีม 3) การพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลในยุควิถีใหม่ 4) การเสริมสร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือในระดับพื้นที่ 5) การปัจฉิมนิเทศ 3) การทดลองใช้และประเมินผลรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนด้วยความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย วิทยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัย ภายหลังการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า โดยรวมทุกด้าน เพิ่มขึ้นจากก่อนรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value<0.001) สรุปได้ว่า รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนด้วยความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย วิทยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัยที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเป็นรูปแบบที่ผ่านการตรวจสอบของผู้เชี่ยวชาญ และสามารถพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนได้
References
ประโยชน์ คล้ายลักษณ์. (2556). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการทำงานเป็นทีมของบุคลากรทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญา ดุษฎีบัณฑิต. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
มงคล แสงอรุณ และคณะ. (2558). รูปแบบการเสริมสมรรถนะของผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.การประชุมวิชาการระดับชาติการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมครั้งที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. มหาสารคาม. 12-13 พฤษภาคม 2558. 212-220.
มานิตย์ นาคเมือง. (2551). การพัฒนาสมรรถนะประจาสายงานครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก.
วศินี รุ่งเรือง. (2558). การประเมินสมรรถนะผู้เรียนตามหลักสูตรประกาศนยบัตรวิชาชีพพุทธศักราช 2556 สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก ระบบทวิภาคีของวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ 360 องศา. วิทยานิพนธ์หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
วัชราภรณ์ ประภาสะโนบล. (2564). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาครูโดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับการสอนแบบสร้างสรรค์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมของนักเรียน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิทยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัย. (2559). รายงานการประเมินคุณภาพภายใน วิทยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัย. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2565. จาก www.Kaset.ac.th
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2551). กรอบทิศทางการพัฒนาการศึกษาในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) ที่สอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2554-2559). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2562). หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติการจัดการอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2563. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). รายงานการวิจัยเรื่อง การจัดการศึกษาระบบทวิภาคีหรือระบบฝึกหัด-กรณีศึกษา ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน สหรัฐอเมริกา อังกฤษและออสเตรเลีย. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
Taro Yamane. (1967). Statistics : An Introductory Analysis. 2nd ed. New York : Harper & Row.