@article{jbpe, author = {สิทธิศักดิ์ เพิ่มพูล and พัชรี ศิลารัตน์}, title = { รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนด้วยความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย วิทยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัย}, journal = {วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์}, volume = {7}, number = {1}, year = {2023}, keywords = {}, abstract = { บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนด้วยความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย วิทยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัย สร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนด้วยความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย วิทยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัย และทดลองใช้และประเมินผลรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนด้วยความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย วิทยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษา ครู และพนักงานราชการ/ลูกจ้าง ผู้ประกอบการ ผู้นำชุมชน นักศึกษา นักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนด้วยความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย วิทยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัย แบบสอบถาม และแบบประเมินความสอดคล้อง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนด้วยความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย วิทยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัย ได้แก่ ด้านลักษณะที่พึงประสงค์ ด้านสมรรถนะแกนกลาง ด้านสมรรถนะวิชาชีพ ด้านความร่วมมือภาคีเครือข่าย 2) รูปแบบที่ได้จากผลการวิจัย ข้อที่ 1 เอาปัจจัยตัวที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดมาพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนด้วยความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายประกอบด้วยกิจกรรม 5 กิจกรรม 1) กิจกรรมการปฐมนิเทศ 2) การพัฒนาศักยภาพการทำงานเป็นทีม 3) การพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลในยุควิถีใหม่ 4) การเสริมสร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือในระดับพื้นที่ 5) การปัจฉิมนิเทศ 3) การทดลองใช้และประเมินผลรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนด้วยความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย วิทยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัย ภายหลังการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า โดยรวมทุกด้าน เพิ่มขึ้นจากก่อนรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value<0.001) สรุปได้ว่า รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนด้วยความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย วิทยาลัยเทคนิคเกษตรวิสัยที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเป็นรูปแบบที่ผ่านการตรวจสอบของผู้เชี่ยวชาญ และสามารถพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียนได้}, issn = {2730-2644}, pages = {686--697}, url = {http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/2161} }