ความต้องการจำเป็นและแนวทางการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1
NEED AND GUIDELINES FOR THE SCHOOL ADMINISTRATORS’ACADEMIC AFFAIRADMINISTRATION UNDER OF ROI-ET PRIMARY EDUCATIONAL SERVICEAREA OFFICE 1
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา และ 2) แนวทางการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูหัวหน้าวิชาการสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 จำนวน 214 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ระยะที่ 2 การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา จากการศึกษาสถานศึกษาที่มีการปฏิบัติดีเยี่ยม จำนวน 3 โรงเรียน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูหัวหน้าวิชาการ จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและประเมินความถูกต้อง ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการบริหารงานวิชาการสถานศึกษาสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และลำดับความต้องการจำเป็นของการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา เมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปน้อยคือ ด้านการพัฒนาปรับปรุงประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา ด้านการนิเทศการศึกษา ด้านการวัดผล ประเมินผลและดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา 2) แนวทางการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา มีผลการประเมินความถูกต้อง ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ อยู่ระดับมาก โดยมีแนวทางการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาคือ (1) ด้านการพัฒนาปรับปรุงระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษาคือ ควรมีการประชุมจัดระบบการวางแผน ดำเนินงาน กำกับติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานที่ดำเนินการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามระบบประกันคุณภาพการศึกษา โดยมีการตรวจสอบประเมินผลการปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บรรลุผลตามเป้าหมายความสำเร็จที่สถานศึกษากำหนดไว้ (2) ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาคือ ควรจัดตั้งคณะกรรมการประเมินผลการวิจัย มีการนิเทศ กำกับติดตาม เพื่อนำผลการประเมินมาวางแผนพัฒนาการจัดทำวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา (3) ด้านการนิเทศศึกษาคือ ควรนิเทศการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบที่หลากหลาย มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การนิเทศร่วมกัน มีการสะท้อนผลหลังการนิเทศ และสรุปรายงานผลการนิเทศ โดยนำผลมาใช้ปรับปรุงการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง
References
เกตกนก สวยค้าข้าว. (2561). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนราชินีบูรณะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน์.
ปรัตถกรณ์ กองนาคู และประสงค์ สายหงษ์. (2564). การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการ
สำหรับโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3.
วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 10(2). 46-56.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1. (2564). รายงานผลการดำเนินงาน
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. ร้อยเอ็ด : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
ร้อยเอ็ด เขต 1.
สุวิมล ว่องวานิช. (2562). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ :
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อนุวัฒน์ ธัมมะปาละ. (2561). แนวทางการบริหารงานวิชาการในกลุ่มโรงเรียนวังชลสินธุ์ สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วารสารสิรินธร
ปริทรรศน์. 19(1). 67-81.
อภิเชษฐ์ บุญพยอม. (2560). แนวทางการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.