แนวทางการพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนบาลี สำนักเรียนดีเด่นหนกลาง โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดพระธรรมกาย
GUIDELINE IN DEVELOPMENT OF FACTORS AFFECTING THE ACADEMIC ACHIEVEMENTS OF THE PALI LEARNING STUDENTS IN EXCELLENTPALI LEARNING CENTER UNDER CENTRAL REGION SANGHAADMINISTRATION OFFICE, WAT PHADHAMMAKAYA PARIYATIDHAMMA SCHOOL
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนบาลี 2. ศึกษาแนวทางการพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนบาลี สำนักเรียนดีเด่นหนกลาง 3. เสนอแนวทางการพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์การเรียนของนักเรียนบาลี สำนักเรียนดีเด่นหนกลาง โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดพระธรรมกาย และประชากรที่ใช้วิจัย ได้แก่ นักเรียนนักเรียนบาลีชั้นประโยค 1-2 ถึง ประโยค ป.ธ.9 ของโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดพระธรรมกาย ปีการศึกษา 2564 รวมทั้งสิ้น 622 รูป/คน โดยใช้สถิติคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 242 รูป/คน
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจัยด้านผู้เรียน ด้านโรงเรียน ด้านผู้สนับสนุนมีภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ศึกษาแนวทางการพัฒนา 3 ด้าน คือ 1) ด้านผู้เรียน ปลูกฝังทัศนคติ สร้างแรงจูงใจให้นักเรียนอยากเรียนบาลีให้กำลังใจนักเรียนด้วยรางวัล คำชื่นชมให้นักเรียนเรียนร่วมกันเป็นทีม ควบคุมดูแลการใช้สื่อของนักเรียนปรับหลักสูตรบาลีให้มีการเรียนพระไตรปิฏกบูรณาการการสอน นักเรียนเตรียมตัวอ่านหนังสือก่อนเข้าเรียนฝึกจับแง่คิดที่ถูกต้องแนะนำการอยู่ร่วมกันกับหมู่คณะ 2) ด้านโรงเรียนอบรมครู คัดเลือกครูที่มีคุณภาพมีสวัสดิการที่เหมาะสมให้ครูครูต้องพร้อมพัฒนาตนเองให้เวลาครูได้เรียนรู้และพัฒนาตนเองศึกษาดูงานสำนักเรียนที่ประสบความสำเร็จสร้างบรรยากาศในการเรียนให้เหมาะสม ทุ่มเทงบประมาณเพื่อการศึกษาผู้บริหารสร้างสัมพันธภาพที่ดีและแรงบันดาลใจกับบุคลากรทางการศึกษา แบ่งหน้าที่ชัดเจน หมั่นประชุมเนืองนิตย์ช่วยเหลืองานสำนักเรียนอื่นๆ แสวงหาความร่วมมือและงบประมาณเพื่อพัฒนาการศึกษาห้องเรียนสะอาด และมีอุปกรณ์การเรียนพร้อมใช้งานอยู่เสมอ 3) ด้านผู้สนับสนุนอ่านหนังสือร่วมกันเพิ่มช่องทางการสอบถาม จัดเรียนพิเศษเพิ่มเติมและให้กำลังใจ ไม่ซ้ำเติมนักเรียนที่สอบไม่ผ่าน 3. เสนอแนวทางการพัฒนา 3 ด้าน คือ 1) ด้านผู้เรียน ควรช่วยกันสร้างแรงจูงใจให้นักเรียนอยากเรียนบาลี ควรจัดสรรให้นักเรียนใช้สื่อได้ในเวลาที่เหมาะสมควรปรับหลักสูตรบาลีให้เหมาะสมกับยุคปัจจุบัน มีการสนับสนุนให้นักเรียนได้ค้นคว้าเพิ่มเติม และอบรมการอยู่ร่วมกับหมู่คณะ 2) ด้านโรงเรียน 1. ด้านครู ควรอบรมครูพัฒนาครู จัดสวัสดิการให้เหมาะสม ให้มีการจัดประเมินครู 2. ด้านผู้บริหาร ควรสร้างแรงบันดาลใจให้ทุกฝ่ายทำร่วมกันเพื่อมุ่งไปสู่ความสำเร็จ จัดให้มีการศึกษาดูงาน กำหนดหน้าที่แต่ละฝ่ายอย่างชัดเจน และหมั่นประชุม 3. ด้านสภาพแวดล้อม ควรสร้างบรรยากาศที่ดีและจัดให้มีอุปกรณ์การเรียนพร้อมใช้งานอยู่เสมอ 3) ด้านผู้สนับสนุน ควรมีผู้ดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิดเมื่ออ่านหนังสือร่วมกันที่กุฏิหรือจัดเรียนพิเศษเพิ่มเติมให้นักเรียน หากนักเรียนไม่เข้าใจไม่กล้าถามปัญหาควรเพิ่มช่องทางในการส่งคำถามและควรให้กำลังใจไม่ซ้ำเติมผู้สอบไม่ผ่าน
References
จรัสโฉม ศิริรัตน์.(2559). ปัญหาการติดต่อสื่อสารของบุคลากรในองค์กร: กรณีศึกษาสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.วารสารบรรณศาสตร์ มศว. 9(1).20-22.
ชลดา ชลสวัสดิ์. (2555). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษสูงและต่ำ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.
ณิรดา เวชญาลักษณ์. (2561). หลักการบริหารจัดการชั้นเรียน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นคร เหมนาค. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดปราจีนบุรี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.
น้ำผึ้ง จันทะสิงห์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อำเภอบ่อทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.
บุศรินทร์ มังกรแก้ว. (2553). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนมาลาสวรรค์พิทยา อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พ.โพธิทัพพะ. (2533). มาสร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่ดีในโรงเรียนกันเถอะ. มิตรครู. 32(1). 33-35.
พรจันทร์ โพธินาค. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตที่มีผล การเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.
พรพรรณ แก้วฝ่าย. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนบ้านห้วยซันสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2. สารนิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.
พระเทพปริยัติสุธี (วรวิทย์ คงคปญฺโญ). (2545). การคณะสงฆ์และการพระศาสนา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2564. จาก https://person.mwit.ac.th/01-Statutes/ NationalEducation.pdf
ภูวดล แก้วมณี. (2551). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมตั้งใจเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สาธิต วิมลคุณารักษ์ และประยงค์ เนาวบุตร. (2546). ประสบการณ์วิชาชีพประกาศนียบัตรบัณฑิตทางการบริหารศึกษา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สิทธิพันธ์ ชูชื่น.(2556).การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนฝ่ายการศึกษานานาชาติขั้นพื้นฐาน โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุทธิพงษ์ นามเกิด. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สังกัดสำนักงานเขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยพะเยา.
สุรวิทย์ พลมณี. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
อรอนงค์ สวัสดิ์บุรี. (2555). พฤติกรรมและการสื่อสารภายในองค์กร. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อิทธิศักดิ์ ศิริจันทร์ และพิมลพรรณ เพชรสมบัติ. (2562). ทักษะการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. 13(1). 142-156.
Iritani B. J., Cho H., Rusakaniko S., Mapfumo J., Hartman S., &Hallfors D. (2016). Educational outcomes for orphan girls in Rural Zimbabwe: Effects of a school support intervention. Health Care Women Int. 37(3). 301-322.
Park JH, Lee E, Bae SH. (2010). Factors Influencing Learning Achievement of Nursing Students in E-Learning. Journal of Korean Academy of Nursing. 40(2). 182-190.