การสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ เรื่อง สัญญะความดีงามในวัตถุ

CREATION OF VISUAL ARTS ON THE SIGN OF VIRTUE IN MATERIAL

  • ปัญญาวิศิษฐ์ สุริสุข คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • บุญทัน เชษฐสุราษฎร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สุชาติ สุขนา คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Abstract

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาเกี่ยวกับสัญญะความดีงามในวัตถุ สิ่งของ เครื่องใช้ ที่สื่อถึงบุคคลผู้เป็นเจ้าของที่มีประสบการณ์อันมีชีวิตที่บันทึกในวัตถุ 2)เพื่อสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ด้านจิตรกรรมรูปแบบกึ่งนามธรรม แสดงผ่าน สี แสง เงา น้ำหนัก รูปทรง ด้วยเทคนิคสีน้ำมันบนผ้าใบ มีแรงบันดาลใจเบื้องต้นจากวัตถุสิ่งของ เครื่องครัวของบ้านที่ใช้ในชีวิตประจำวัน มีการรวบรวมข้อมูลภาคสนาม ข้อมูลภาคเอกสารสัจจะวัตถุ กับ พ่อแม่คือพระในบ้าน ข้อมูลแนวคิดทฤษฏีศิลป์ด้านศิลปะที่เกี่ยวข้องและอิทธิพลจากผลงานศิลปกรรม เพื่อเป็นฐานข้อมูลประกอบการค้นหานำมาวิเคราะห์ แนวเรื่อง รูปแบบ และเทคนิควิธีการสร้างสรรค์ผลงาน


            ผลการวิจัยพบว่า 1. ด้านเนื้อหาสัญญะความดีงามในวัตถุ สิ่งของเครื่องใช้ ที่สื่อถึงบุคคล ผู้เป็นเจ้าของที่มีประสบการณ์อันมีชีวิตที่บันทึกอยู่ในวัตถุ จากวัตถุเครื่องครัวของบ้านที่ประกอบอาชีพค้าขายอาหาร วัตถุสิ่งของยังมีความหมายเป็นสัญญะจากร่องรอยความดีงามของชีวิตบนพื้นผิวของวัตถุ คราบร่องรอยที่บันทึก ความมุมานะ ความอดทนในชีวิต จากการประกอบอาชีพเพื่อดูแลคนในครอบครัวอย่างเสียสละ 2. เพื่อสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมแบบรูปกึ่งนามธรรม โดยใช้วิธีเขียนภาพแบบเอ็กซ์เพรสชันนิสม์ ที่สื่อตรงออกมาจากอารมณ์ความรู้สึกที่บริสุทธิ์ กับเทคนิคการระบายสีแบบตวัดทับซ้อน ขูดขีด ปาดป้ายสี สีประสานกันอย่างฉับพลัน จังหวะพู่กันและปริมาณสีเกิดร่องรอยความหนานูนเป็นพื้นผิวของวัตถุ โดยใช้กลุ่มโทนสีเหลืองทอง คล้ายแสงของเทียนช่วยสร้างแสงเกิดความเงางามระยิบระยับ ทรงคุณค่า ให้ความรู้สึกถึงในสิ่งที่บุพการีได้กระทำ มีคุณค่าดั่งแสงสว่างสื่อถึงพระในบ้านที่คอยชี้นำสิ่งดีงาม สามารถมีความสอดคล้องซึ่งกันและกันของแนวคิดและวิธีการสื่อได้ถึง สัญญะความดีงามในวัตถุ แสดงให้เห็นถึงเอกภาพที่กลมกลืนของผลงานสร้างสรรค์มีความสมบูรณ์ชัดเจนมากยิ่งขึ้น 


 

References

กมล แสงทองศรีกมล. (2552). เมื่อลูกน้อยกินไม่ได้นอนไม่หลับ. กรุงเทพฯ : ฐานบุ๊คส์.

กำจร สุนพงษ์ศรี. (2559). สุนทรียศาสตร์ หลักปรัชญาศิลปะ ทฤษฎีทัศนศิลป์ ศิลปวิจารณ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มาวิทยาลัย.

ชลูด นิ่มเสมอ. (2541). องค์ประกอบของศิลปะ. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อมรินทร์.

ปลัดไกรสร นริสฺสโร. (2560). สุนทรียศาสตร์เชิงพุทธในงานประติมากรรมธรรมศิลป์ของธงชัย ศรีสุขประเสริฐ. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา. 8(1). 39-49.

สุริยา สมุทคุปติ์. (2545). คัมภีร์ใบลานอีสานกับแนวการวิเคราะห์ทางมานุษยวิทยา. นครราชสีมา: ห้องไทยศึกษานิทัศน์ สาขาวิชาศึกษาทั่วไป สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม.
Published
2022-02-09
How to Cite
สุริสุข, ปัญญาวิศิษฐ์; เชษฐสุราษฎร์, บุญทัน; สุขนา, สุชาติ. การสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ เรื่อง สัญญะความดีงามในวัตถุ. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 6, n. 2, p. 163-175, feb. 2022. ISSN 2730-2644. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/1910>. Date accessed: 30 mar. 2024.
Section
Research Article