การบริหารงานงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2

BUDGET MANAGEMENT BASED ON THE GOOD GOVERNANCE OF SCHOOL ADMINISTRATORS OF THE EDUCATION OPPORTUNITY EXPANSION SCHOOL UNDER THE ROI ET PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 2

  • จารุวัฒน์ ปาสาโก มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • จิราภรณ์ ผันสว่าง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • กฤตยากร ลดาวัลย์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Abstract

            บทความวิจัยนี้วิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงบประมาณ ตามหลักธรรมมาภิบาล ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงบประมาณตามหลักธรรมมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 3)เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารงบประมาณ ตามหลักธรรมมาภิบาล ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน 285 คน และผู้ให้สัมภาษณ์ 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t–test (Independent  Samples) และ F–test


           ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาล ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) ผลการเปรียบเทียบพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามที่มีระดับการศึกษาและประสบการณ์ทำงาน แตกต่างกันมีความคิดเห็น โดยรวมและรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน ยกเว้น เพศ ที่แตกต่างกัน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05           3) แนวการบริหารงบประมาณตามหลักธรรมมาภิบาล ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารสถานศึกษาและครู ได้แนวทาง ดังนี้ (1)ผู้บริหารสถานศึกษายึดกฎระเบียบในการจัดทำและเสนอของบประมาณโดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาและเปิดโอกาสให้บุคลากรได้มีส่วนร่วม (2)ผู้บริหารมีความเป็นกลางในการจัดสรรงบประมาณและจัดสรรให้เพียงพอต่อความจำเป็นและจัดสรรอย่างโปร่งใส (3)สถานศึกษาแต่งตั้งผู้รับผิดชอบและทำแผนการติดตามประเมินผลการใช้จ่ายงบประมาณจัดให้มีการระดมความคิดของบุคลากรเพื่อพัฒนาผลการใช้จ่ายงบประมาณให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด (4)สถานศึกษาจัดทำแผนการระดมทรัพยากรโดยให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมและยึดประสิทธิผลที่จะเกิดกับสถานศึกษาและชุมชนเป็นหลัก (5)สถานศึกษามีแนวทางบริหารการเงินดำเนินการตามระเบียบกระทรวงการคลังดำเนินการตามแผนปฏิบัติการประจำปีและสามารถเผยแพร่ต่อสาธารณชนได้ (6)สถานศึกษามีการกำกับติดตามหลักฐานการเบิกจ่ายและการจัดทำบัญชีที่โปร่งใส (7)สถานศึกษามีการจัดทำทะเบียนพัสดุและสินทรัพย์ที่เป็นปัจจุบันดำเนินงานตามระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างพุทธศักราช 2560 ด้วยความโปร่งใส

References

กรมศุลกากร. (2555). พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่ข้าราชการพลเรือนเนื่องในโอกาสวันข้าราชการพลเรือน ปีพุทธศักราช 2549. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2564. จาก http://www.customs.go.th/Conduct/conduct1.pdf

การีหม๊ะ หะยีอาซา. (2557). การบริหารงานงบประมาณโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา อำเภอทุ่งยางแดง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 3. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัย ราชภัฏยะลา.

เกรียงไกร เจริญวงศ์ศักดิ์. (2541). ธรรมรัฐภาคการเมือง: บทบาทภาคีเมือง. กรุงเทพฯ : รัฐสภาสาร.

จิราภรณ์ ผันสว่าง. (2562). ผู้นำกับการเป็นนักบริหารการศึกษามืออาชีพ. มหาสารคาม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

จีระนันท์ สมน้อย. (2559). แนวทางการบริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ธรรศพงศ์ วงษ์สวัสดิ์, เอนก นอบเผือก. (2562). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลท่านางงามอำเภอบางระกำจังหวัดพิษณุโลก. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. 13(1). 129-139.

ธัญญาลักษณ์ สิงห์แก้ว. (2559). การบริหารงบประมาณของสถานศึกษาที่สังกัดสำนักงานเขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปนัดดาจิตคง. (2555). การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลตามทัศนะของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้.

พระครูวิจิตรปัญญาภรณ์. (2562). ภาวะผู้นำเชิงพุทธในองค์กรทางการศึกษา. มหาสารคาม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

พระมหาลําพึง ธีรปญฺโญ (เพ็ญภู่). (2554). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนนวมินทราชูทิศมัชฌิม จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสุธิศักดิ์ สุภกิจฺโจ (เขียวหวาน). (2554). การบริหารการศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มยุรี กลับสุข. (2556). การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงบประมาณของโรงเรียนสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

รัตติยา สัจจภิรมย์. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารงบประมาณรายจ่ายเงินรายได้ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สพป.ร้อยเอ็ด เขต 2. (2564). ข้อมูลครูและบุคลากรทางการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2564. จาก http://bigdata.ret2.info

แสงเทียน จิตรโชติ. (2560). แนวทางการบริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลสำหรับสถานศึกษาขยายโอกาสในเขตอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Gulick, L. and Urwick, J. (1973). Papers on the Science of Administration. New York : Institute of Public Administration.
Published
2022-03-15
How to Cite
ปาสาโก, จารุวัฒน์; ผันสว่าง, จิราภรณ์; ลดาวัลย์, กฤตยากร. การบริหารงานงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 7, n. 1, p. 37-50, mar. 2022. ISSN 2730-2644. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/1809>. Date accessed: 22 nov. 2024.