@article{jbpe, author = {จารุวัฒน์ ปาสาโก and จิราภรณ์ ผันสว่าง and กฤตยากร ลดาวัลย์}, title = { การบริหารงานงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2}, journal = {วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์}, volume = {7}, number = {1}, year = {2022}, keywords = {}, abstract = { บทความวิจัยนี้วิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงบประมาณ ตามหลักธรรมมาภิบาล ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงบประมาณตามหลักธรรมมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 3)เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารงบประมาณ ตามหลักธรรมมาภิบาล ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน 285 คน และผู้ให้สัมภาษณ์ 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t–test (Independent Samples) และ F–test ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาล ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) ผลการเปรียบเทียบพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามที่มีระดับการศึกษาและประสบการณ์ทำงาน แตกต่างกันมีความคิดเห็น โดยรวมและรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน ยกเว้น เพศ ที่แตกต่างกัน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 3) แนวการบริหารงบประมาณตามหลักธรรมมาภิบาล ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารสถานศึกษาและครู ได้แนวทาง ดังนี้ (1)ผู้บริหารสถานศึกษายึดกฎระเบียบในการจัดทำและเสนอของบประมาณโดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาและเปิดโอกาสให้บุคลากรได้มีส่วนร่วม (2)ผู้บริหารมีความเป็นกลางในการจัดสรรงบประมาณและจัดสรรให้เพียงพอต่อความจำเป็นและจัดสรรอย่างโปร่งใส (3)สถานศึกษาแต่งตั้งผู้รับผิดชอบและทำแผนการติดตามประเมินผลการใช้จ่ายงบประมาณจัดให้มีการระดมความคิดของบุคลากรเพื่อพัฒนาผลการใช้จ่ายงบประมาณให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด (4)สถานศึกษาจัดทำแผนการระดมทรัพยากรโดยให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมและยึดประสิทธิผลที่จะเกิดกับสถานศึกษาและชุมชนเป็นหลัก (5)สถานศึกษามีแนวทางบริหารการเงินดำเนินการตามระเบียบกระทรวงการคลังดำเนินการตามแผนปฏิบัติการประจำปีและสามารถเผยแพร่ต่อสาธารณชนได้ (6)สถานศึกษามีการกำกับติดตามหลักฐานการเบิกจ่ายและการจัดทำบัญชีที่โปร่งใส (7)สถานศึกษามีการจัดทำทะเบียนพัสดุและสินทรัพย์ที่เป็นปัจจุบันดำเนินงานตามระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างพุทธศักราช 2560 ด้วยความโปร่งใส}, issn = {2730-2644}, pages = {37--50}, url = {http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/1809} }