ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของกลุ่มโรงเรียนบ้านฉางพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1

Factors Affecting the Effectiveness of Banchangpattana School Group under the Elementary Education Service Area Office 1.

  • จินตนา พฤคณา นิสิตหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สุเมธ งามกนก ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ประยูร อิ่มสวาสดิ์ ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Abstract

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิผลของกลุ่มโรงเรียนบ้านฉางพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านลักษณะสภาพแวดล้อม ปัจจัยด้านลักษณะบุคคล และปัจจัยด้านลักษณะนโยบายการบริหารและการปฏิบัติ กับประสิทธิผลของกลุ่มโรงเรียนบ้านฉางพัฒนา และ 3) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ประสิทธิผลของกลุ่มโรงเรียนบ้านฉางพัฒนา จากปัจจัยด้านลักษณะสภาพแวดล้อม ปัจจัยด้านลักษณะบุคคล และปัจจัยด้านลักษณะนโยบายการบริหารและการปฏิบัติของกลุ่มโรงเรียนบ้านฉางพัฒนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูกลุ่มโรงเรียนบ้านฉางพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 186 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง 0.41-0.86 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ คะแนนเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียรสัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า


  1. ประสิทธิผลของกลุ่มโรงเรียนบ้านฉางพัฒนา โดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก

  2. ปัจจัยด้านลักษณะสภาพแวดล้อม ลักษณะบุคคล และลักษณะนโยบายการบริหารและการปฏิบัติกับประสิทธิผลของกลุ่มโรงเรียนบ้านฉางพัฒนา มีความสัมพันธ์กันทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

  1. ตัวแปรภาวะผู้นำทางวิชาการ (X5) วัฒนธรรมของสถานศึกษา (X2) และหลักสูตรสถานศึกษา (X6) สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลของกลุ่มโรงเรียนบ้านฉางพัฒนา ตัวแปรทั้ง 3 ตัวร่วมกันทำนายตัวแปรตาม ได้ร้อยละ 19 สามารถสร้างสมการพยากรณ์ในรูปของคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ดังนี้


Abstract


          This research aimed to; 1) study the effectiveness of Banchangpattana school group under the Elementary Education Service Area Office 1, 2) study relationships between the factors of environment, personal characteristic, and management policy and the practice with the effectiveness of Banchangpattana school group, and 3) Constructed a predictive effectiveness equation of Banchangpattana school group form factors of environment, personal characteristic, and management policy and practice. The research samples were 186 teachers of Banchangpattana school group under the Elementary Education Service Area Office 1 in academic year 2018. The research instrument was a five-levels rating scales questionnaire with the discriminative power between 0.41-.86. The reliability of the whole questionnaire was at 0.97. The statistic used in this research were Mean, Standard Derivation, Pearson’s product moment correlation coefficient, and Multiple regression analysis. The research found that:


  1. The effectiveness of Banchangpattana school group in over all was at a high level.

  2. The factors of environment, personal characteristic, and management policy and practice had positive relationship with the school effectiveness at the significant level of .01.

  3. The factor of academic leadership (X5), school culture (X2) and course of education (X6) could the effectiveness of Banchangpattana school group by 19% and could constructed in a raw scores and standard score as;

References

กนกวรรณ อินทร์น้อย. (2553). กระบวนการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชนสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา, คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมลคลธัญบุรี.

กษมาพร ทองเอื้อ. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมาตรฐานสากล. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

จตุรภัทร ประทุม. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

นฤทธิ์ แสงสุขสว่าง. (2552). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การของโรงเรียน สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิภา อุตรา. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การของโรงเรียนสตรีระนอง สังกัดสำนักงานพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พรเทพ แซ่ซิ้ม. (2554). การมีส่วนร่วมในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

ภารดี กีร์ติบุตร. (2553). หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. ชลบุรี: พิมพ์มนตรี.

ฤทัยรัตน์ บุญอินทร์. (2559). ปัจจัยทีส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิเศษ ภูวิชัย. (2552). การกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. กรุงเทพฯ: สมาคมการพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย.

สัมฤทธิ์ กางเพ็ง. (2551). ปัจจัยทางการบริหารที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน: การพัฒนาและการตรวจสอบความตรงของตัวแบบ. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหาร การศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. (2560). ข้อมูลพื้นฐานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. ระยอง: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. (2561). สถิติของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาระยอง เขต 1. ระยอง: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1.

โสภิน ม่วงทอง. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญในภาคตะวันออก. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

Caldwell, B. J., & Spinks, J. M. (1990). The self-management school: Administrative science quarterly. London: Taylor and Francis.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. New York: Harper Collins.

Likert, R. (1967). The method of constructing and attitude scale, reading in attitude theory and measurement. New York: Wiley & Son.

Saunders, A. J. (2000). Osmolyte-induced changes in protein conformational equilibria. Biopolymers 53(4), 293-307.

Steers, R. M. (1977). Organization effectiveness. California: Goodyear.
Published
2020-06-30
How to Cite
พฤคณา, จินตนา; งามกนก, สุเมธ; อิ่มสวาสดิ์, ประยูร. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของกลุ่มโรงเรียนบ้านฉางพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 8, n. 1, p. 215-229, june 2020. ISSN 2408-199X. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/edj/article/view/818>. Date accessed: 29 mar. 2024.