การพัฒนากิจกรรม CREAM เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนิสิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Development of CREAM Learning Activities to Enhance Desirable Characteristics of Pre-service Teachers in Early Childhood Education, Faculty of Education, Burapha University

  • สุกัลยา สุเฌอ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Abstract

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and development) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรม CREAM เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และ 2) ศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนิสิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยหลังเข้าร่วมกิจกรรม CREAM กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 10 คน และนิสิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ที่ศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เนื่องจากนิสิตชั้นปีที่ 1 เป็นนิสิตใหม่ที่เพิ่งก้าวเข้าสู่วิชาชีพครูปฐมวัย จึงมีความเหมาะสมต่อการเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และเพื่อให้นิสิตได้ตรวจสอบความรู้สึกของตนที่มีต่อวิชาชีพครูปฐมวัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) คู่มือการจัดกิจกรรม CREAM เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนิสิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย 2) สมุดบันทึกกิจกรรม CREAM ของนิสิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย และ 3) แบบประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนิสิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้


  1. กิจกรรม CREAM เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นกำหนดกรอบการเรียนรู้ ขั้นสร้างสรรค์ผลงาน ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และขั้นประเมินผลการเรียนรู้ โดยผู้เชี่ยวชาญประเมินว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.52, ơ = 0.13)

  2. นิสิตที่เข้าร่วมกิจกรรม CREAM มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์อยู่ในระดับดีเยี่ยม (µ= 3.68,
    ơ = 0.41) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า คุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านความรักและความศรัทธาในวิชาชีพครูปฐมวัย และสมรรถนะที่จำเป็นของครูปฐมวัย ด้านความร่วมมือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์ และ ทักษะในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้และการสื่อสารอยู่ในระดับดีเยี่ยม และทักษะความคิดสร้างสรรค์อยู่ในระดับดีมาก

ABSTRACT


This study used research and development approach with attempts to 1) develop CREAM learning activities to enhance desirable characteristics, and 2) to investigate desirable characteristics of pre-service teachers in early childhood education. The target participants were 10 experts and 30 first-year pre-service teachers, who were purposefully selected,
in early childhood education, Faculty of Education, Burapha University, enrolled in the second semester of academic year 2017. The first-year pre-service teachers were appropriated to be the participants because they have just entered the program and they would have a chance to assess their feelings toward the profession of early childhood teachers. The research instruments consist of 1) a manual to organize CREAM learning activities to enhance desirable characteristics of pre-service teachers in early childhood education, 2) a notebook to record CREAM learning activities, and 3) an assessment form to evaluate desirable characteristics of pre-service teachers. The analysis was conducted by using mean and standard deviation.


The findings were as follows:


  1. CREAM learning activities to enhance desirable characteristics consisted of 4 steps:
    1) determining learning framework, 2) creating work, 3) sharing, and 4) evaluating learning. The experts evaluated the appropriateness in the highest level. (µ = 52, ơ = 0.13)

  2. Pre-service teacher were participated in the CREAM learning activities possessed desirable characteristics in the excellent level (µ= 3.68, ơ = 0.41).When considering each aspect, it was found that there were 3 aspects of desirable characteristics in the excellent level: 1) love and faith in the profession of early childhood teachers. 2) creatively cooperate with stakeholders, and 3)skills in application of information technology learning and communication. It was also found that the aspect of creative thinking was at the very high level.

References

กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. (2554). นวัตกรรมและเทคโนโลยีเทคนิคศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์ผลิตตำราเรียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ทิศนา แขมมณี. (2545). ศาสตร์การสอน. กุรงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นวพร ชลารักษ์. (2558). บทบาทของครูกับการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอน์, 9(1), 64-71.

นิวัตต์ น้อยมณี และกัญภร เอี่ยมพญา. (2560). จิตวิญญาณครู. นนทบุรี: 21 เซ็นจูรี่.

ประกาศคุรุสภา เรื่อง การรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษาเพื่อการประกอวิชาชีพ. (2557, 14 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 130 ตอนพิเศษ 156 ง. หน้า 16-19.

ประเวศ วะสี. (2557). อภิวัฒน์การเรียนรู้สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.).


ปาริฉัตร ภู่ทอง และน้ำมนต์ เรืองฤทธิ์. (2559). การพัฒนาชุดการสอนสำหรับครูโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4MAT เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของพืช สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มโรงเรียนพัฒนาท่าจีน. วารสารวิชาการ ฉบับภาษาไทย มนุษย์ศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 9(3), 573-587.

วิจารณ์ พานิช (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. มูลนิธิสยามกัมมาจล. กรุงเทพฯ: ส. เจริญ.

วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2544). การพัฒนาการเรียนการสอน. มหาสารคาม: ภาควิชาหลักสูตรและการสอนคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศักดิ์ชัย นิรัญทวี และไพเราะ พุ่มมั่น. (2542). วัฏจักรการเรียนรู้ (4MAT) การจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการส่งเสริมคุณลักษณะเก่ง ดี มีสุข. กรุงเทพฯ: แว่นแก้ว.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). กรอบทิศทางการพัฒนาการศึกษาในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2545-2559). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุกัลยา สุเฌอ. (2554). การศึกษาองค์ประกอบและการส่งเสริมพรหมวิหารสี่ของเด็กปฐมวัยด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบ RACA. ปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Johnson, D. W., & Johnson, R. T. (1999). Learning together and alone cooperative, competitive, and individualistic learning (5th ed). Boston: Allyn and Bacon.

Johannes, J. (2012). Contemplative education: How contemplative practices can support and improve education. Master Thesis Center for International Education, University of Massachusetts.
Published
2020-06-30
How to Cite
สุเฌอ, สุกัลยา. การพัฒนากิจกรรม CREAM เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนิสิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 8, n. 1, p. 102-115, june 2020. ISSN 2408-199X. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/edj/article/view/808>. Date accessed: 20 apr. 2024.