การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลการวัดความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัวของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5

A Construct Validity Testing of Flexibility and Adaptability Measurement Model of Mathayom Suksa Three Students Under Khon Kaen Primary Educational Service Area Office 5

  • ปราโมทย์ โสภา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5
  • ประกฤติยา ทักษิโณ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Abstract

 บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัว (Flexibility and Adaptability) ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 และ 2) ตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลการวัดความยืดหยุ่นและความสามารถใน   การปรับตัว (Flexibility and Adaptability) ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3      ซึ่งเป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2561 จำนวน 276 คน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive  Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบวัดความยืดหยุ่นและความสามารถใน        การปรับตัวของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย (Descriptive Statistics) และวิเคราะห์ความตรงเชิงโครงสร้างด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis: CFA)


 ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 มีความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัวอยู่ในระดับปานกลาง และโมเดลการวัดความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัว (Flexibility and Adaptability) มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า c2=29.360, df=20, p-value=0.0809, c2/df= 1.468, RMSEA = 0.041, SRMR = 0.033, CFI = 0.985, TLI = 0.972


Abstract


The purposes of this research were 1) to study the level of flexibility and adaptability of mathayom suksa three students under khon kaen primary educational service area office 5 and 2) to examine the construct validity of flexibility and adaptability measurement model of mathayom suksa three students under khon kaen primary educational service area office 5. The sample used in this study was the students in mathayom suksa three, which are educational opportunity expansion schools under khon kaen primary educational service area office 5, the office of the basic education commission, the academic year 2018. The sample size consisted of 276 students using the purposive sampling method. The instrument for this research is the flexibility and adaptability questionnaire of mathayom suksa three students. Data were analyzed using descriptive statistics and structural validity analysis with confirmatory factor analysis (CFA).


 The result of the research shows that the mathayom suksa three students under khon kaen primary educational service area office 5 were flexible and adaptable at a moderate level. The flexibility and adaptability measurement model was well fitted with the empirical data, with c2=29.360, df=20, p-value=0.0809, c2/df= 1.468, RMSEA = 0.041, SRMR = 0.033, CFI = 0.985, TLI = 0.972

References

ชนัดดา เทียนฤกษ์. (2557). การพัฒนาโมเดลการวัดทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในศตวรรษที่ 21. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย). สืบค้นจาก http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46267

โชติญา เผ่าจินดา, ธนินทร์ รัตนโอฬาร, และกฤษณา คิดดี. (2560). การตรวจสอบความตรงของโมเดลทักษะชีวิตและอาชีพในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. Veridian E-Journal,Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 10(1), 458 -470. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/86219/68479

ณัฐวุฒิ ศรีวัฒนาวานิช. (2556). การปรับตัวในมหาวิทยาลัยของนิสิตชั้นปีที่ 1 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย). สืบค้นจาก http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43474

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล : สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประกฤติยา ทักษิโณ, ตรีคม พรมมาบุญ, ชุติมา สุรเศรษฐ, ธัญญรัศม์ จอกสถิตย์, และจตุภูมิ เขตจัตุรัส. (2559). โมเดลการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์รอบด้านตามมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติและการพัฒนาชุดเครื่องมือวัดโครงสร้างด้านเจตคติของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). สืบค้นจาก http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER6/DRAWER059/GENERAL/DATA0000/00000299.PDF

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (CLASSICAL TEST THEORY) (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. สืบค้นจาก http://plan.bopp-obec.info/wp-content/uploads/2018/10/OBECPolicy62.pdf

อรอุมา เจริญสุข. (2557). การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลการวัดจิตวิญญาณความเป็นครูของนิสิตหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.5 ปี) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ: การวิเคราะห์กลุ่มพหุ. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย, 29(2), 189-208. สืบค้นจาก https://portal.edu.chula.ac.th/pub/jrm/index.php/jrm/article/view/558/pdf_v29i2_a04

Hair Jr., J.F., Black, W.C., Babin, B.J. and Anderson, R.E. (2010) Multivariate Data Analysis: A Global Perspective (7th ed.). Upper Saddle River, New Jersey: Pearson.

Hooper, D., Coughlan, J., & Mullen, M. R. (2008). Structural Equation Modelling: Guidelines for Determining Model Fit. Electronic Journal of Business Research Methods, 6(1), 53–60. https://doi.org/10.21427/D7CF7R
Published
2020-06-30
How to Cite
โสภา, ปราโมทย์; ทักษิโณ, ประกฤติยา. การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลการวัดความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัวของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 8, n. 1, p. 146-158, june 2020. ISSN 2408-199X. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/edj/article/view/603>. Date accessed: 24 nov. 2024.