ปัจจัยที่ส่งผลสำเร็จต่อการพัฒนาบุคลากรในสำนักงานเขตบางกอกน้อยกรุงเทพมหานคร

Factor Conducive to The Success of Personnel Development in Bangkoknoi District Office, Bangkok Metropolis.

  • บุรพร กำบุญ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • อาริยา ภูวคีรีวิวัฒน์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • ประพัฒสอน เปียกสอน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • ธารินี กิตติกาญจนโสภณ ประจำหลักสูตรการศึกษาทางไกล มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

Abstract

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคล ของบุคลากรในสำนักงานเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร และ(2)ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อผลสำเร็จการพัฒนาบุคลากรในสำนักงานเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ บุคลากรในสำนักงานเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร โดยมีจำนวน 270 คน โดยใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยอัตราส่วนร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (arithmetic mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) ทำการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way-Analysis of Variance) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ กับตัวแปรตาม และทดสอบสมมติฐานด้วยt-testและF –Testกรณีทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยที่แตกต่างกัน ตั้งแต่ 3 กลุ่ม


ผลการวิจัยพบว่า


1)ปัจจัยส่วนบุคคล ของบุคลากรในสำนักงานเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านเพศ ระดับการศึกษาและรายได้ของพนักงานแตกต่างกัน มีผลให้ความสำเร็จของการบริหารทรัพยากรบุคคล ส่วนอายุ สถานภาพสมรส และประสบการณ์ในการทำงานไม่มีผลต่อความสำเร็จของการบริหารทรัพยากรบุคคล


2)ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อผลสำเร็จการพัฒนาบุคลากรในสำนักงานเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร การทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง  ๆ กับความสำเร็จของการบริหารทรัพยากรบุคคลพบว่า  ตัวแปรการสรรหาและการคัดเลือกพนักงานมีความสัมพันธ์กับความสำเร็จของการบริหารทรัพยากรบุคคลระดับปานกลาง (r = .526) ในขณะที่ตัวแปรการประเมินผลการปฏิบัติงานการจ่ายผลตอบแทนและความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จของการบริหารทรัพยากรบุคคลค่อนข้างมาก (r = .773, r = .626, และ r = .647 ตามลำดับ) ส่วนตัวแปรการฝึกอบรมพนักงานมีความสัมพันธ์กับความสำเร็จของการบริหารทรัพยากรบุคคลค่อนข้างน้อย (r = .277)


3) ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งนี้ คือ การบริหารทรัพยากรบุคคลเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งหรือสิ่งแรก ที่จะทำให้องค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ของการบริหารงาน เพราะพนักงานหรือบุคลากรเป็นทรัพยากรที่มีค่ายิ่งสำหรับองค์กร  ก็จะทำให้ผลการปฏิบัติงานเป็นไปตามเป้าหมาย  ในขณะที่การฝึกอบรม  เป็นการปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมในการปฏิบัติงาน  ทั้งยังเป็นการพัฒนาพนักงานที่มีอยู่ให้มีคุณภาพและปรับปรุงวิธีการบริหารทรัพยากรบุคคลให้ทันสมัยและนำไปใช้ได้อย่างเหมาสม  ซึ่งจะส่งผลให้การบริหารงานขององค์กรมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป


 


ABSTRACT


The research was designed to determine (1) the factors of personnel backgroundinBangkoknoi District office, and(2) the factors conducive to the success of personnel development inBangkoknoi District office.The personnel 270 staff members inBangkoknoi District office were selected as the sample for the study, the questionnaire was the study tool. To collected data withpercentage, arithmeticmean,standard deviation. Statistic analyzed using as t-test , and  F-test,One-Way-Analysis of Variance.


The research findings were as follows:


1) Personnel backgrounds of the staff members had influence on the success of the personnel development in the sense that the staff members with different gender, education and income were different in their influence on the success of the personnel development, whereas their ages, marital statuses and work experiences failed to have influence on the success of the personnel development.


2) The hypothesis testing has brought to light the following facts :recruitment and selection of the staff members were correlated with the personnel development success at moderate extent (r =.526), whereas work performance assessment, compensation and work satisfaction were correlated with the personnel development successes at fairly high degree (r = .773, r = .626, andr = .647 by respectively). Meanwhile, the training of the personnel was slightly correlated with the personnel development success (r = .277) 


3) As far as the recommendations were concerned aboutthe human resource development should be given top priority largely because the staff members were the most valuable resource. Also, training should be conducted much, as to change the personnel’s habits and work performance behavior. By doing so, the staff members would become the ones of high quality. Finally, attempts should be made to modernize the technique of human resource development, so that the operation of the organization would become more efficient and effective.

Published
2018-08-13
How to Cite
กำบุญ, บุรพร et al. ปัจจัยที่ส่งผลสำเร็จต่อการพัฒนาบุคลากรในสำนักงานเขตบางกอกน้อยกรุงเทพมหานคร. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 6, n. 1, p. 225-235, aug. 2018. ISSN 2408-199X. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/edj/article/view/225>. Date accessed: 22 nov. 2024.