แนวทางการแก้ไขปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
The problem solving approach in teaching professional experience of students of Education Program in Teaching English, Mahamakut Buddhist University, Lanna Campus.
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ระดับปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยวิทยาเขตล้านนา ประชากรที่ใช้วิจัยในครั้งนี้ คือ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู จำนวน 95 รูป/คน ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบบันทึกประสบการณ์ ผู้วิจัยได้แยกแยะข้อมูลเป็นหมวดหมู่ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา
ผลการวิจัย พบว่า ระดับปัญหาที่พบมากที่สุด คือ
- ปัญหาด้านจิตพิสัยของนักเรียน คือ นักเรียนไม่ตั้งใจเรียน การแสดงออกไม่เหมาะสมและไม่กล้าแสดงออก
- ปัญหาเกี่ยวกับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คือ การขาดความมั่นใจในตนเองและรู้สึกว่าตนเองไม่มีความพร้อม ขาดความชำนาญ
- ปัญหาเกี่ยวกับสถานศึกษา คือ สถานที่จำกัด ห้องเรียน ห้องน้ำสกปรก ขาดสื่อเทคโนโลยี
แนวทางการแก้ไขปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ได้แก่
- แนวทางการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับนักเรียนด้านจิตพิสัย คือ ครูควรมีปฏิสัมพันธ์และเน้นการมีส่วนร่วมกับนักเรียนมากขึ้น การรู้จักตั้งคำถามและการสรุป
- แนวทางการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คือ การเสริมสร้างความมั่นใจในตนเองและการเตรียมความพร้อมทุกด้าน
- แนวทางการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับสถานศึกษา คือ สำหรับนักเรียนควรตั้งกติกาและมีผู้รับผิดชอบเพื่อสร้างวินัย สำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูควรทำงานร่วมกับครูพี่เลี้ยงและสถานศึกษาต่อไป
Abstract
The purpose of this research was to analyze the problem level and the problem solving approach of teaching professional experience of students of Education Program in Teaching English, Mahamakut Buddhist University, Lanna Campus. The population was 95 students enrolled in teaching professional experience. Data were collected via experience records, and then classified into categories and analyzed using descriptive analysis.
The findings indicated that the most found problems were 1) the problems concerned to students' affective domain, i.e., not interested in learning, inappropriate expression and not assertive, 2) the problems concerned to teaching professional experienced students, i.e., lack of self-confidence, feeling not ready and lack of expertise, and 3) the problems concerned to the school, i.e., limited classrooms, dirty classroom and bathroom and lack of technological media. The problem solving approaches of teaching professional experience were 1) the problem solving approach concerned to students' affective domain was that the teachers interact and focus more on student participation, questioning and conclusion, 2) the problem solving approach concerned to teaching professional experienced students was to strengthen self-confidence and preparation in all aspects, and 3) the problem solving approach concerned to the school was that for school students the rules and responsibility should be set to begin discipline, and for teaching professional experienced students working with teachers and school administrators should be continued.
ลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย