การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิบัติงานของครูสังกัดกรุงเทพมหานคร

The conflict management of school administrators and the performance of teachers under Bangkok Metropolitan

  • สมบัติ เดชบำรุง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

Abstract

บทคัดย่อ


          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร  2) ศึกษาการปฏิบัติงานของครูสังกัดกรุงเทพมหานคร  3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิบัติงานของครูสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 205 โรงเรียน  ผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 2 คน ได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา และครูปฏิบัติหน้าที่การสอน รวมทั้งสิ้น 410 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความขัดแย้งของผู้บริหารตามแนวคิดของโธมัธ(Thomas)และการปฏิบัติงานของครูตามมาตรฐานวิชาชีพของคุรุสภา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพีย์สัน


           ผลการวิจัยพบว่า


  1. การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานครใช้ทุกแบบโดยที่แบบการยอมให้อยู่ในระดับมาก แบบความร่วมมือ การประนีประนอมและการหลีกเลี้ยงอยู่ในระดับปานกลาง ส่วบแบบการเอาชนิดอยู่ในระดับน้อย

  2. การปฏิบัติงานของครูสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

  3. การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาแบบร่วมมือ การประนีประนอม การหลีกเลี้ยง และการยอมให้มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของครูอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่ความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาแบบการเอาชนะไม่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของครู

Abstract


          The purposes of the research were to find : 1) the  conflict management of school administrators under Bangkok Metropolitan  2) the performance of teachers under Bangkok Metropolitan  3) the relationship between the conflict management of school administrators and the performance of teachers under Bangkok  Metropolitan. The sample used in this research were 205 schools under Bangkok Metropolitan, The respondents were comprised of 2 persons in each school : an administrators and teacher, 410 respondents in total. The research instrument was a questionnaire concerning conflict management base on Thomas and the performance of teachers base on Secretariat Office of the teachers Council. The statistical applied in data analysis were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation and Pearson’s product moment correlation coefficient.


           The results were found that :


  1. The conflict management of school administrators under Bangkok Metropolitan was 5 model ; accommodation model was a high level, collaboration model, compromising model, avoiding model were at middle level and competition model was a low level.

  2. The performance of teachers under Bangkok Metropolitan was a high level in overall and in each aspect.

  3. The conflict management of school administrators in the collaboration model, compromising model, avoiding model and  accommodation model were at relationship with the performance of teachers at .05 level of significance. While competition model did not relate with the performance of teachers.

Published
2018-08-13
How to Cite
เดชบำรุง, สมบัติ. การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิบัติงานของครูสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 6, n. 1, p. 198-214, aug. 2018. ISSN 2408-199X. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/edj/article/view/203>. Date accessed: 22 nov. 2024.