การบริหารจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช

Knowledge Management in Mahamakut Buddhist University, Srithammasokkaraj Campus

  • ทิพมาศ เศวตวรโชติ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมโศกราช : Mahamakut Buddhist University, Srithammasokkaraj Campus

Abstract

บทคัดย่อ


การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการบริหารจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช  2.  เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการบริหารการจัดการความรู้ ในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราช วิทยาลัยวิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช และ 3. เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  วิทยาลัยวิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช เก็บรวบรวมข้อมูล   โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือกับ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากร ในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช ปีการศึกษา 2560 จำนวน 36 รูป/คน 


            ผลการวิจัยพบว่า


 ด้านการสำรวจความรู้ภายในองค์กร ในภาพรวม พบว่ามีการบริหารจัดการความรู้อยู่ในระดับ มาก 


มหาวิทยาลัยมีวิธีการในการแสวงหา จัดเก็บ และใช้ความรู้อย่างเป็นระบบ มหาวิทยาลัยได้รวบรวมเรียบเรียงความรู้ในการปฏิบัติงานจัดเป็นระบบใหม่ให้มีเป้าหมายที่ชัดเจน


 ปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการบริหารจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขต


ศรีธรรมาโศกราช ด้านการสำรวจความรู้ภายในหน่วยงานมีปัญหาและอุปสรรค คือยังมีความเข้าใจในเรื่องของการสำรวจความรู้ไม่ชัดเจน และไม่เห็นความสำคัญของการสำรวจความรู้ เนื่องจากไม่เคยชินกับการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ ด้านการวางแผนความรู้เพื่อการรวบรวมและจัดเก็บมีปัญหาและอุปสรรค คือขาดการวางแผนด้านสำรวจความรู้ การรวบรวมข้อมูลมีความซ้ำซ้อน และขาดระบบการดำเนินงาน รวบรวม จัดเก็บที่ดี ไม่มีการ สะสมความรู้เดิมอย่างเป็นระบบต้องใช้เวลาในการค้นหา  ด้านการพัฒนาความรู้มีปัญหาและอุปสรรค คือขาดแกนนำในการเสนอและพัฒนางานในระบบใหม่ เมื่อเปลี่ยนผู้รับผิดชอบงานก็เหมือนกับว่าการปฏิบัติงานต้องเริ่มกันใหม่ และความรู้ในองค์การความรู้ภายนอกองค์กรไม่เชื่อมโยงกับงาน ขาดการจัดบริบทในการปฏิบัติงาน ด้านกระบวนการถ่ายทอดความรู้หรือการแบ่งปันความรู้มีปัญหาและอุปสรรค คือเป็นเรื่องที่ไม่คุ้นเคยในการปฏิบัติอย่างเป็นระบบและมีการแข่งขันกันในหน่วยงาน ขาดความไว้วางใจซึ่งกันและกัน


แนวทางการบริหารจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  วิทยาลัยวิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช ด้านการสำรวจความรู้ภายในหน่วยงาน ควรให้ผู้บริหารตระหนักถึงความสำคัญของการวางแผนการสำรวจความรู้ภายใน  และควรมีตัวอย่างเครื่องมือที่ได้รับการตรวจสอบแล้วมาเป็นแนวทาง ด้านการวางแผนความรู้เพื่อการรวบรวมและการจัดเก็บ  ควรสนับสนุนให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนจัดให้มีคู่มือการปฏิบัติงานหรืออื่น ๆ ที่แสดงถึงการนำความรู้ในตัวบุคคลออกมาเป็นความรู้ของหน่วยงาน รวบรวมความรู้ที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานของหน่วยงาน มาจัดทำแผนการจัดการความรู้ และควรจัดการอบรมด้านการรวบรวมและจัดเก็บให้กับบุคลากร  ด้านการพัฒนาความรู้ควรตั้งหัวหน้างานกลาง ทำหน้าที่ดูแลการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้บริหารกำหนดเป็นนโยบายขับเคลื่อนให้บุคลากรได้ ตระหนักถึงความสำคัญและร่วมกิจกรรมทุกครั้งโดยการ สร้างแรงจูงใจ ควรสร้างความตระหนักในหน้าที่การพัฒนาความรู้ว่าไม่ใช่เป็นงานของใครคนใดแต่ต้องตระหนักว่า เป็นภาระของทุกคน ด้านกระบวนการถ่ายทอดความรู้หรือการแบ่งปันความรู้หน่วยงานควรจัดให้มีการถ่ายทอดความรู้ โดยให้มีผู้รับผิดชอบในการดำเนินการเพื่อให้เกิดการแบ่งปันสร้างบรรยากาศของการทำงานเป็นทีมให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จัดให้มีการพบปะกันในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น การสัมมนาร่วมกัน การทำกิจกรรมร่วมกันในวาระต่าง ๆ


คำสำคัญ : การบริหารจัดการความรู้


Abstract


The purposes of this study were to study; The  knowledge management in Mahamakut Buddhist University, Srithammasokkaraj Campus. 2. To study the problems and obstacles of knowledge management In Mahamakut Buddhist University Srithammasokkaraj Campus. 3. To study the knowledge management approach of Mahamakut Buddhist University Srithammasokkaraj Campus. Data Collection Using a questionnaire as a tool. The population were the staff of Mahamakut Buddhist University Srithammasokkaraj Campus. 36 persons in Mahamakut Buddhist University Srithammasokkaraj Campus


Knowledge Management in Mahamakut Buddhist University, Srithammasokkaraj Campus. The results are as follows. In the overall knowledge management survey, knowledge management was at a high level. The university had a systematic approach to acquiring, collecting and using knowledge. The University has compiled knowledge on how to operate a new system to achieve a clear goal.


Problems and obstacles in knowledge management. Mahamakut Buddhist University Srithammasokkaraj Campus The internal knowledge survey has problems and obstacles. There is also a clear understanding of the topic of knowledge exploration. And do not see the importance of exploration. Knowledge planning for collection and storage has problems and obstacles. The lack of planning for the survey. Data collection is redundant. There is no systematic collection, no systematic collection of knowledge. Knowledge development has problems and obstacles. The lack of leadership in proposing and developing new systems. When replacing a responsible person, it is as if the operation must start again and Knowledge and knowledge in external organization were not linked to job. Lack of context in the work. The process of knowledge transfer or knowledge sharing has problems and obstacles. It is not familiar in systematic practice and competition in the agency. Lack of mutual trust.


Suggestions on opinions on knowledge management in mahamakut Buddhist University Srithammasokkaraj Campus In-house knowledge exploration Management should be aware of the importance of planning internal knowledge. There should be an example of a tool that has already been investigated. Knowledge planning for collection and storage. It should encourage all practitioners to provide manual or other work that demonstrates the knowledge of the individual. Collect the knowledge necessary for the performance of the agency. Make a knowledge management plan. Training should be provided for collection and storage of personnel. Knowledge development should be centered. It is responsible for collecting data. Management is defined as a policy to motivate people. Be aware of the importance and attend every event by motivation It should raise awareness that the development of knowledge is not a work of anyone, but must realize that. It's a burden for everyone. In the process of knowledge transfer or knowledge sharing, organizations should provide knowledge transfer. To be responsible for the sharing, create the atmosphere of teamwork as much as possible. Meetings in various forms, both formal and informal, such as joint seminars. Joint activities in various agendas.

Published
2018-08-09
How to Cite
เศวตวรโชติ, ทิพมาศ. การบริหารจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 6, n. 1, p. 111-124, aug. 2018. ISSN 2408-199X. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/edj/article/view/186>. Date accessed: 03 jan. 2025.