รัฐศาสตร์ตามแนวพุทธศาสตร์
Abstract
ในศตวรรษที่ 21 บริบทสังคมนั้นประกอบด้วยกลุ่มบุคคลต่างๆที่มีความคิดความอ่านเป็นส่วนตัวสูง ตลอดจนความศรัทธา นิสัย มุมมอง การดำรงชีวิต วัฒนธรรมที่แตกต่างกัน รวมถึงการใช้เทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอย่างตลอดเวลา มารวมตัวกันอยู่ภายสังคมที่พื้นที่เดียวกัน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการบริหารต้องหารูปแบบการปกครอง และกฎหมายเกณฑ์ที่มีความทันสมัยและที่เหมาะสมมาใช้ในสังคมนั้นรวมถึงความถูกต้องตามคุณธรรมและจริยธรรมเพื่อให้สังคมนั้นๆ อยู่อย่างราบรื่นสงบสุข ไม่มีการเอาเปรียบ มียุติธรรมดำเนินชีวิตไปได้ด้วยดี มีความปรองดองรู้รักสามัคคี เป็นพลเมืองที่ดีของสังคม ถ้าเมืองหรือสังคมนั้น ไม่มีการปกครองที่เหมาะสม หรือมีควบคุมที่ไม่ดี หรือถ้าสังคมนั้นมีความหลากหลายทางความคิด ทางวัฒนธรรม ทางศาสนามาใช้แล้ว ก็จะทำให้สังคมนั้นเกิดความวุ่นวาย มีความขัดแย้ง มีความไม่ปลอดภัย เกิดความแตกแยก ไม่คุณธรรมจริยธรรม ซึ่งจะทำให้เกิดการแย่งชิงผลประโยชน์ ความเห็นแกตัวตามมา อย่างไม่มีที่สิ้นสุด เพราฉะนั้นสังคมในยุคศตวรรษที่ 21 จะต้องมีปรับปรุงกฎหมายตลอดเวลา เพื่อให้สอดคล้องกับความเจริญที่ก้าวหน้าตลอดเวลา มีการปกครองที่เหมาะสมจึงเป็นที่ต้องการของทุกๆ สังคมนั้น และสังคมไทยมีความสัมพันธ์กับศาสนามานาน ศาสนาจึงเป็นเรื่องง่ายที่คนในสังคมจะเข้าถึง โดยการใช้หลักการของรัฐศาสตร์กับหลักธรรม มาเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการธำรงรักษาความชอบธรรมของการปกครองและการยอมรับของประชาชนที่มีต่อผู้ปกครอง พระพุทธศาสนา หมายถึงคำสั่งสอนทั้งหมดของพระพุทธเจ้า เป็นประมวลความรู้ทางศาสนาระบบหนึ่ง เช่นเดียวกับประมวลความรู้ทางมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ที่เรียนกันอยู่ตามสถาบันการศึกษาต่างๆ ประมวลความรู้ทางพระพุทธศาสนาการใช้หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า มาเป็นแนวทางในการบริหารบ้านเมือง ในการปกครอง ในการออกกฎหมาย เพื่อให้ทุกคนในสังคมมีคุณธรรมมีจริยธรรม ตลอดจนองค์กร หรือหน่วยงานมีหลักธรรมาภิบาลในการบริหารงาน ถ้าในสังคมนั้นปกครองหรือบริหารงานโดยใช้หลักธรรมเป็นแนวทาง ก็เชื่อได้ว่าสังคมนั้นจะมีความสุขสงบ มีความเจริญก้าวหน้า
1. ผลงานที่ส่งตีพิมพ์จะต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งตีพิมพ์อื่นใดมาก่อนและต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
2. ต้นฉบับที่ส่งตีพิมพ์ต้องเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษเท่านั้น
3. ต้นฉบับต้องผ่านการกลั่นกรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
4. ในกรณีที่เป็นบทความแปล ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ โดยการขออนุญาตให้เป็นไปตามหลักจริยธรรมสากล
5. ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ และตาราง ที่ตีพิมพ์ในวารสาร เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความแต่เพียงผู้เดียว มิใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสาร กองจัดการ และมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
6. ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร