คำแนะนำสำหรับผู้ประสงค์ส่งบทความตีพิมพ์ในวารสารพระพุทธศาสนาเขตลุ่มแม่น้ำโขง

เป้าหมายและขอบเขต
           วารสารพระพุทธศาสนาเขตลุ่มแม่น้ำโขง หรือ Buddhism in Mekong Region เป็นวารสารวิชาการเพื่อส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัย บทความวิชาการ บทปริทรรศน์ และบทวิจารณ์หนังสือ ด้านพระพุทธศาสนา ปรัชญา ภูมิปัญญา และศิลปวัฒนธรรม

วารสารมีกำหนดตีพิมพ์เผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ (ราย 6 เดือน)
ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน)
ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม)
 
การประเมินคุณภาพบทความ
ทุกบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรางคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 2 ท่าน โดยใช้ระบบ Double-Blinded 

คำแนะนำ
           1. ผลงานที่ส่งตีพิมพ์จะต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งตีพิมพ์อื่นใดมาก่อนและต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
           2. ต้นฉบับที่ส่งตีพิมพ์ต้องเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษเท่านั้น
           3. ต้นฉบับต้องผ่านการกลั่นกรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
           4. ในกรณีที่เป็นบทความแปล ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ โดยการขออนุญาตให้เป็นไปตามหลักจริยธรรมสากล
           5. ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ และตาราง ที่ตีพิมพ์ในวารสาร เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความแต่เพียงผู้เดียว มิใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสาร กองจัดการ และมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
           6. ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร

ข้อมูลเกี่ยวกับการพิจารณาบทความ
           บทความจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์จะต้องผ่านการพิจารณาจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องโดยมีกระบวนการดังนี้
           1. กองบรรณาธิการจะแจ้งรายละเอียดให้ผู้ส่งบทความทราบเมื่อกองบรรณาธิการได้รับบทความเรียบร้อยสมบูรณ์
           2. กองบรรณาธิการจะตรวจสอบหัวข้อและเนื้อหาของบทความ ความเหมาะสม และความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของวารสาร รวมถึงประโยชน์ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ
           3. กรณีที่กองบรรณาธิการพิจารณาเห็นควรรับบทความไว้เพื่อตีพิมพ์ กองบรรณาธิการจะดำเนินการส่งบทความเพื่อทำการกลั่นกรองต่อไปโดยจะโดยจะส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาเกี่ยวข้องตรวจสอบคุณภาพของบทความ เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิได้พิจารณาบทความแล้ว หากมีจุดที่ควรแก้ไขกองบรรณาธิการจะนำส่งบทความกลับไปให้ผู้เขียนแก้ไข และส่งกลับมาพิจารณาอีกครั้ง หากพิจารณาแล้วควรตีพิมพ์ในวารสาร กองบรรณาธิการจะออกหนังสือรับรองการพิมพ์ต่อไป

ข้อกำหนดของบทความต้นฉบับ
           1. ใช้กระดาษขนาด A4 พิมพ์ห่างจากขอบกระดาษ 1 นิ้ว ทั้งสี่ด้าน พิมพ์หน้าเดียว ใส่เลขหน้าที่มุมบนขวา จำนวนหน้าของเนื้อหารวมตารางและรูปภาพไม่ต่ำกว่า 10 หน้า แต่ไม่ควรเกิน 15 หน้า
           2. ข้อความในบทคัดย่อและบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษให้ใช้อักษร TH Sarabun PSK ระยะห่าง 1 บรรทัดตลอดบทความ ส่วนตัวเลขให้ใช้เลขอารบิก
           3. ส่วนต้นของบทความ ประกอบด้วย 1) ชื่อเรื่องใช้ตัวเข้ม 2) ชื่อผู้เขียน 3) หน่วยงานที่สังกัด(ถ้ามี) และe-mail address ใช้ตัวอักษรปกติ โดยระบุทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษไว้ที่ส่วนต้นของบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
           4. ส่วนของบทคัดย่อให้ดำเนินการดังนี้
               4.1 บทคัดย่อภาษาไทย ประกอบด้วยคำว่า "บทคัดย่อ" จัดชิดขอบซ้ายตัวหนา และเนื้อหาของบทคัดย่อความยาวไม่เกิน 250 คำ และคำสำคัญภาษาไทย 3-5 คำ
               4.2 บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ประกอบด้วยคำว่า "Abstract" จัดชิดขอบซ้ายตัวหนา และเนื้อหาของบทคัดย่อภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 250 คำ และคำสำคัญภาษาอังกฤษ 3-5 คำ โดยบทคัดย่อภาษาอังกฤษต้องมีเนื้อหาตรงกับบทคัดย่อภาษาไทย
           5. ส่วนของเนื้อหา
               5.1 สำหรับบทความวิจัย ประกอบด้วยหัวข้อหลักต่อไปนี้
                      1) บทนำ หรือ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (Background and Significance of the Study)
                      2) วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Objective)
                      3) กรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Framework)
                      4) วิธีดำเนินการวิจัย (Research Methodology) ประกอบด้วย ประชากร ตัวอย่างหรือผู้เข้าร่วมวิจัยหรือผู้ให้ข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและการพัฒนาเครื่องมือ การเก็บรวบรวมข้อมูลและระยะเวลาที่เก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้
                      5) ผลการวิจัย (Results)
                      6) อภิปราย(Discussion)
                      7) ข้อเสนอแนะ (Recommendation)
                      8) เอกสารอ้างอิง (References)
               5.2 สำหรับบทความวิชาการ ประกอบด้วยหัวข้อหลักต่อไปนี้
                      1) บทนำ (Introduction)
                      2) เนื้อเรื่อง (Body) โดยอาจแบ่งเป็นประเด็นหรือหัวข้อย่อยตามความเหมาะสม
                      3) บทสรุป (Conclusion)
                      4) กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgment) (ถ้ามี)
                      5) เอกสารอ้างอิง (References)
         6. การอ้างอิงในเนื้อหาและรายการอ้างอิงท้ายบทความเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด โดยใช้การอ้างอิงรูปแบบ APA (American Psychological Association)
         7. กรณีตาราง กำหนดหมายเลขตารางและชื่อตารางไว้บนตารางชิดขอบซ้าย และให้มีเฉพาะเส้นแนวนอนเท่านั้น โดยความกว้างของตารางไม่เกิน 15 เซนติเมตร
          8. กรณีภาพหรือแผนภาพ กำหนดหมายเลขและชื่อของภาพหรือแผนภาพไว้ใต้ภาพหรือแผนภาพ โดยความกว้างของภาพหรือ แผนภาพต้องไม่เกิน 15 เซนติเมตร และจัดภาพให้อยู่กึ่งกลางหน้ากระดาษ