ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารวิชาการโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 8

  • วิเชียร เจริญธรรม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • วาโร เพ็งสวัสดิ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • เอกลักษณ์ เพียสา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิผลการบริหารวิชาการ 2) ศึกษาปัจจัยด้านความสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของโรงเรียนกับชุมชน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับประสิทธิผลการบริหารวิชาการ 4) เพื่อศึกษาอำนาจพยากรณ์ ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารวิชาการ และ 5) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารวิชาการ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 8 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 181 คน โดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน


            ผลการวิจัยพบว่า


  1. ประสิทธิผลการบริหารวิชาการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

  2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารวิชาการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

  3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารวิชาการ โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการบริหารวิชาการ โดยภาพรวม มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง

  4. ปัจจัยด้านความสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของโรงเรียนกับชุมชน ปัจจัยด้านการจัดการงบประมาณ และปัจจัยด้านสื่อวัสดุ อุปกรณ์และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มีอำนาจพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารวิชาการ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์พยากรณ์ .534 โดยสามารถร่วมกันทำนายระดับประสิทธิผลการบริหารวิชาการ ได้ร้อยละ 53.40

  5. แนวทางในการพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารวิชาการ มี 3 ด้าน คือ 1) ด้านความสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของโรงเรียนกับชุมชน 2) ด้านสื่อวัสดุ อุปกรณ์และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และ 3) ด้านการจัดการงบประมาณ

 


Abstract

               The objectives of this research were 1) to study the level of effectiveness of academic administration, 2) to study factors on relationship and participation of schools and communities, 3) to study the relationship between the factors and the effectiveness of academic administration, 4) to study the predictive power affecting the effectiveness of academic administration; and 5) to study the guidelines for the development of factors affecting the effectiveness of academic administration. The sample group of 181 administrators and teachers from Phrapariyattidhamma School on General Education, Group 8, were selected by the stratified random sampling. The statistics used for data analysis comprised of frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, Pearson’s correlation coefficient, and the stepwise multiple regression analysis.


               The findings of the research were as follows: 1. The effectiveness of academic administration was found to be overall at a high level. 2. Factors affecting the effectiveness of academic administration were found to be overall at a high level. 3. Factors affecting the effectiveness of academic administration were overall related to the academic administration effectiveness at a statistically significant level of .05 with the moderate correlation. 4. Such factors as the relationship and participation between the school and the community, budget management, educational equipment and technology were found capable to predict the effectiveness of academic administration at a statistically significant level of 0.01 with a predictive coefficient of .534, which could be used to predict 53.4% of the effectiveness of academic administration. 5. The guidelines on development of factors affecting the effectiveness of academic administration consisted of three aspects; 1) the relationship and participation between the school and the community, 2) instructional media and materials as well as educational equipment and technology, and 3) budget management.


 


Keywords: Academic Administration;  Effectiveness;  Phrapariyattidham School;

References

กมล ภู่ประเสริฐ. (2547). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพมหานคร: เมธีทิปส์.

กมลรัตน์ ทิสมบูรณ์. (2559). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็กจังหวัดสระแก้ว. วิทยานพินธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัย ปทุมธานี.

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติการศึกษาภาค บังคับ พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พัฒนาหนังสือกรมวิชาการ
________. (2546 ก). การปฏิรูประบบบริหารการศึกษาในกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภา
________. (2546 ข). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภา.

กรุณา ภู่มะลิ. (2556). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็กในภาคตะวันออก. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ 8 (1).

เกสิณี ชิวปรีชา. (2540). การศึกษาการดำเนินงานทางวิชาการในสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลพระราช ทานสังกัดกรมอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เกษม วัฒนชัย. (2546). ธรรมาภิบาลกับบทบาทคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักนโยบายและแผนการศึกษา.

เขษมสร โข่งศรี. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

จตุรภัทร ประทุม. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 27, 119-130.

จิตติพร จิตตรี. (2556). ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต. นครราขสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครราชสีมา.

จิรพันธ์ พิมพ์พันธุ์. (2550). กลยุทธ์การพัฒนาสถานศึกษาเอกชนเพื่อส่งเสริมการปฏิรูปการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิก.

จีรวิทย์ มั่นคงวัฒนะ. (2555). การบริหารสถานศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ. กรุงเทพมหานคร: ครีเอทีฟคอมมอนส์.

จุฬารัตน์ เปี้ยเหมย. (2550). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการเลือกให้บุตรเข้าศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง. การค้นคว้าอิสระเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2562). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยสาส์น.
Published
2021-12-31
How to Cite
เจริญธรรม, วิเชียร; เพ็งสวัสดิ์, วาโร; เพียสา, เอกลักษณ์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารวิชาการโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 8. วารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์, [S.l.], v. 7, n. 2, p. 71, dec. 2021. ISSN 2350-9406. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jslc/article/view/1796>. Date accessed: 27 apr. 2024.