Login or Register to make a submission.

Submission Preparation Checklist

As part of the submission process, authors are required to check off their submission's compliance with all of the following items, and submissions may be returned to authors that do not adhere to these guidelines.
  • บทความที่เสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์นี้ ต้องไม่เคยเผยแพร่มาก่อน หรือไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารเล่มอื่น (ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของบรรณาธิการบริหาร)
    The submission has not been previously published, nor is it before another journal for consideration (or an explanation has been provided in Comments to the Editor).
  • ไฟล์ที่เสนอตีพิมพ์ ต้องจัดทำตามรูปแบบ Template ที่กำหนดให้ และสามารถเปิดกับโปรแกรม OpenOffice, Microsoft Word ได้ หรือเป็นนามสกุล .doc, docx, และ .rtf เท่านั้น
    The submission file is in OpenOffice, Microsoft Word, or RTF document file format.
  • บรรณานุกรมและการอ้างอิงตามรูปแบบ APA v.6 และการอ้างอิงแบบออนไลน์ในบรรณานุกรม ต้องสามารถเข้าถึง url ที่อ้างถึงได้
    Where available, URLs for the references have been provided.
  • ข้อความมีขนาดย่อหน้า 1 บรรทัด ขนาด 16 พอยท์ และใช้แบบอักษร TH Saraban PSK รวมกันไม่เกิน 25 หน้า
    The text is single-spaced; uses a 12-point font; employs italics, rather than underlining (except with URL addresses); and all illustrations, figures, and tables are placed within the text at the appropriate points, rather than at the end.
  • The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the Author Guidelines.

Author Guidelines

หลักเกณฑ์สำหรับการนิพนธ์
บทความวิจัย บทความวิชาการ บทวิจารณ์หนังสือ และงานวิชาการอื่นๆ
วารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง

 

           วารสาร “ศรีล้านช้างปริทรรศน์” มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง จังหวัดเลย โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานทางพระพุทธศาสนา ปรัชญา ศาสนา การศึกษา รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และนิติศาสตร์ เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และผลงานด้านมรดกอีสานอีสานศาสตร์ และเผยแพร่ผลงานวิชาการ ผลงานวิจัย ของบุคลากรในมหาวิทยาลัย และบุคคลทั่วไป ทั้งนี้บทความแต่ละบทความจะได้รับพิจารณาจากคณะกรรมการกลั่นกรองบทความวารสาร (Peer Review) 2 ท่าน ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์ โดยการพิจารณาบทความจะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อหรือข้อมูลของผู้เขียนบทความ และผู้เขียนบทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความ (Double – blind peer review)

            เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อนพร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนบทความจะได้รับการตีพิมพ์

การเตรียมต้นฉบับบทความวิจัย บทความวิชาการ บทวิจารณ์หนังสือ และงานวิชาการอื่นๆ มีดังนี้

  1. ภาษา เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ การใช้ภาษาไทยให้ยึดหลักการใช้คำศัพท์และชื่อบัญญัติตามหลักของราชบัณฑิตยสถาน ควรหลีกเลี่ยงการใช้ภาษาอังกฤษในข้อความ ยกเว้นกรณีจำเป็น ให้เขียนคำศัพท์ภาษาไทยตามด้วยวงเล็บภาษาอังกฤษ ให้ใช้ตัวเล็กทั้งหมดยกเว้นชื่อเฉพาะต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษรใหญ่ บทความส่วนที่เป็นภาษาอังกฤษควรให้ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษตรวจสอบความถูกต้องก่อนที่จะส่งต้นฉบับ
  2. การพิมพ์ ให้จัดพิมพ์ด้วยโปรแกรมไมโครซอฟท์เวิร์ด โดยจัดหน้ากระดาษขนาด B5 ตั้งค่าระยะขอบกระดาษบน 3 เซนติเมตร, ล่าง 2 เซนติเมตร, ซ้าย/ขวา 2 เซนติเมตร
    • ชื่อเรื่อง ต้องมีภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พิมพ์ไว้หน้าแรกตรงกลาง ภาษาไทยพิมพ์ด้วยรูปแบบตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด 18 พอยต์ และพิมพ์ภาษาอังกฤษ ด้วยรูปแบบตัวอักษร Times New Roman ขนาด 14 พอยต์
    • ชื่อผู้นิพนธ์ ตำแหน่งทางวิชาการ สาขา คณะ สังกัด/หน่วยงาน และ Email (อีเมล์ใส่เฉพาะผู้นิพนธ์บทความคนที่ 1) ของผู้ร่วมหรือที่ปรึกษาทุกคน ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยเรียงจากผู้นิพนธ์บทความ1 ผู้ร่วมนิพนธ์2,3,4 ตำแหน่งใต้ชื่อเรื่อง เยื้องชิดฝั่งขวาของหน้ากระดาษ ภาษาไทยพิมพ์ด้วยรูปแบบตัวอักษร
      TH Sarabun PSK ขนาด 16 พอยต์ และพิมพ์ภาษาอังกฤษด้วยรูปแบบตัวอักษร Times New Roman ขนาด 12 พอยต์
    • การเรียงหัวข้อ หัวข้อใหญ่สุด ให้พิมพ์ชิดขอบด้านซ้าย ภาษาไทยพิมพ์ด้วยรูปแบบตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด 18 พอยต์ ตัวหนา และพิมพ์ภาษาอังกฤษด้วยรูปแบบตัวอักษร Times New Roman ขนาด 14 พอยต์ ตัวหนา
    • เนื้อหา พิมพ์ด้วยรูปแบบตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด 16 พอยต์ ส่วน Abstract พิมพ์ภาษาอังกฤษด้วยรูปแบบตัวอักษร Times New Roman ขนาด 14 พอยต์
  3. จำนวนหน้า บทความวิจัย บทความวิชาการ บทวิจารณ์หนังสือ และงานวิชาการอื่น ๆ ตั้งแต่หัวข้อเรื่องจนถึงเอกสารอ้างอิงควรมีความยาวไม่เกิน 25 หน้า กระดาษ ขนาด B5
  4. การใช้ตัวเลข คำย่อ และวงเล็บ ใช้เป็นตัวเลขอารบิกทั้งหมด ใช้คำย่อที่เป็นสากลเท่านั้น (ระบุคำเต็มไว้ในครั้งแรก) การวงเล็บภาษาอังกฤษ ควรใช้ดังนี้ (Student centered learning) เป็นต้น

การเรียงลำดับเนื้อหา

บทความวิจัย ให้เรียงลำดับสาระ ดังนี้

  1. บทคัดย่อ (Abstract)
  2. บทนำ (Introduction) ระบุความสำคัญของปัญหาการวิจัย
  3. วัตถุประสงค์การวิจัย
  4. สมมุติฐานการวิจัย (ถ้ามี)
  5. ระเบียบวิธีวิจัย
  6. ผลการวิจัย/ผลการทดลอง
  7. อภิปรายผล/วิจารณ์
  8. ข้อเสนอแนะ
  9. องค์ความรู้ที่ได้
  10. เอกสารอ้างอิง (References)

บทความพิเศษ บทความวิชาการ บทความปริทรรศน์ ปกิณกะ ให้เรียงลำดับสาระ ดังนี้

  1. บทคัดย่อ (Abstract)
  2. บทนำ (Introduction)
  3. เนื้อเรื่อง (Content) แสดงสาระสำคัญที่ต้องการนำเสนอตามลำดับ
  4. บทสรุป (Conclusion)
  5. องค์ความรู้ที่ได้
  6. เอกสารอ้างอิง (References)

บทความวิจารณ์หนังสือ ให้เรียงลำดับสาระ ดังนี้

  1. บทนำ (Introduction)
  2. เนื้อเรื่อง (Content) แสดงสาระสำคัญที่ต้องการนำเสนอตามลำดับ
  3. บทวิจารณ์
  4. คุณค่าของหนังสือ
  5. เอกสารอ้างอิง (References)

ขอบเขตการตีพิมพ์

          วารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์ เปิดรับการตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิชาการด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ โดยประกอบไปด้วยสาขาวิชาพุทธศาสนา ศาสนาต่างๆ ปรัชญา วัฒนธรรม ภาษา การศึกษา รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ นิติศาสตร์ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา และสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ตลอดทั้งสาขาวิชาอื่นๆ ที่บูรณาการด้วยหลักคำสอนในพุทธศาสนา

วาระการตีพิมพ์

        วารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง มีวาระการตีพิมพ์เผยแพร่ ปีละ 2 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 (เดือนมกราคม - มิถุนายน) และฉบับที่ 2 (เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม)

จริยธรรมการตีพิมพ์

วารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง ให้ความสำคัญกับการรักษามาตรฐานด้านจริยธรรมในการตีพิมพ์เผยแพร่บทความ ดังนั้น จึงกำหนดให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติตามหลักการและมาตรฐานด้านจริยธรรมในการตีพิมพ์อย่างเคร่งครัด ดังนี้

บทบาทหน้าที่ของบรรณาธิการและกองบรรณาธิการในวารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์

1. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาและตรวจสอบบทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารทุกบทความ โดยพิจารณาความสอดคล้องของเนื้อหาบทความกับเป้าหมายและขอบเขตของวารสาร รวมถึงตรวจสอบคุณภาพของบทความตามกระบวนการประเมินคุณภาพบทความก่อนการตีพิมพ์

2. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการต้องใช้หลักการในพิจารณาบทความโดยอ้างอิงเหตุผลทางวิชาการเป็นหลัก และต้องไม่มีอคติต่อผู้นิพนธ์บทความและเนื้อหาบทความที่พิจารณาไม่ว่าจะด้วยกรณีใดๆ ทั้งสิ้น

3. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์บทความหรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ตรวจประเมินบทความ ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์ในเชิงธุรกิจหรือในการนำไปเป็นผลงานทางวิชาการของตนเอง

4. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการต้องไม่ปิดกั้น เปลี่ยนแปลง หรือแทรกแซงข้อมูลที่ใช้แลกเปลี่ยนระหว่างผู้ทรงคุณวุฒิที่ตรวจประเมินบทความและผู้นิพนธ์บทความ

5. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการต้องปฏิบัติตามกระบวนการและขั้นตอนต่าง ๆ ของวารสารอย่างเคร่งครัด

บทบาทหน้าของผู้นิพนธ์บทความในวารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์

1. บทความที่ผู้นิพนธ์ส่งมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารต้องเป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์หรือเผยแพร่ที่ใดมาก่อน

2. ผู้นิพนธ์บทความต้องทำการอ้างอิงให้ถูกต้องทุกครั้งเมื่อนำผลงานของผู้อื่นมานำเสนอหรืออ้างอิงประกอบในเนื้อหาบทความของตนเอง และต้องไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น

3. หากผลงานทางวิชาการของผู้นิพนธ์เกี่ยวข้องกับการใช้สัตว์ ผู้เข้าร่วม หรืออาสาสมัคร หรือผลการวิจัยมีประเด็นที่เปราะบางต่อผู้ให้ข้อมูล ผู้นิพนธ์ควรดำเนินการตามหลักจริยธรรม ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด รวมถึงต้องได้รับความยินยอมก่อนการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลหรือแสดงเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น หนังสือรับรองจากคณะกรรมการจริยธรมการวิจัยในมนุษย์ หรือในสัตว์ ทดลองประกอบด้วยทุกครั้ง

4. ผู้นิพนธ์บทความต้องยินยอมโอนลิขสิทธิ์ให้แก่วารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์ก่อนการตีพิมพ์ และไม่นำผลงานไปเผยแพร่หรือตีพิมพ์กับแหล่งอื่น ๆ หลังจากที่ได้รับการตีพิมพ์กับวารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์แล้ว

5. ชื่อผู้นิพนธ์ที่ปรากฏในบทความต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในบทความนั้นๆ จริง

บทบาทหน้าที่ของผู้ทรงคุณวุฒิที่ประเมินบทความในวารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์

1. ผู้ทรงคุณวุฒิที่ประเมินบทความต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์บทความ การพิจารณาคุณภาพของบทความต้องคำนึงถึงคุณภาพของบทความเป็นหลัก และพิจารณาบนหลักการและเหตุผลทางวิชาการโดยปราศจากอคติหรือความขัดแย้งส่วนตัว

2. ผู้ทรงคุณวุฒิที่ประเมินบทความต้องตระหนักว่าตนเองเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญ มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของบทความที่รับประเมินอย่างแท้จริง

3. ผู้ทรงคุณวุฒิที่ประเมินบทความต้องไม่แสวงหาประโยชน์จากบทความที่ตนเองได้ทำการประเมิน

4. หากผู้ทรงคุณวุฒิที่ประเมินบทความได้ตรวจสอบแล้วพบว่าบทความที่รับประเมิน เป็นบทความที่คัดลอกผลงานชิ้นอื่น ๆ ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบทันที พร้อมแสดงหลักฐานประกอบที่ชัดเจน

5. ผู้ทรงคุณวุฒิที่ประเมินบทความต้องรักษาระยะเวลาประเมินตามกรอบเวลาประเมินที่วารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์กำหนด รวมถึงไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความให้ผู้ที่อื่นได้รับรู้

การส่งต้นฉบับ

    • ผู้สนใจเสนอตีพิมพ์บทความ สามารถจัดส่งบทความถึงกองบรรณาธิการวารสารได้ โดยไฟล์เวิร์ด (word) และไฟล์ pdf ผ่านช่องทางที่ E-mail: slc.journal@mbu.ac.th พร้อมแบบฟอร์มส่งบทความเพื่อพิจารณานำลงวารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์ หรือส่งผ่านระบบ OJS ที่ http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jslc โทร 042-830-434
    • หรือสามารถส่งได้ด้วยตนเองที่ สำนักงานวารสาร “ศรีล้านช้างปริทรรศน์” สำนักงานรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง 253/7 ถนนวิสุทธิเทพ ตำบลกุดป่อง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย
    • เมื่อกองบรรณาธิการได้รับต้นฉบับแล้ว จะนำเสนอบรรณาธิการเพื่อพิจารณาความสอดคล้องตามวัตถุประสงค์ของวารสาร พร้อมพิจารณาผลว่าจะต้องแก้ไขเบื้องต้นหรือไม่ และแจ้งตอบกลับให้ผู้เขียนทราบ พร้อมแจ้งให้ชำระค่าทำเนียมขอตีพิมพ์บทความตามอัตราที่กำหนดไว้ และเมื่อชำระค่าทำเนียมขอตีพิมพ์บทความ ถ้าไม่ต้องแก้ไขเบื้องต้นจะนำส่งต่อให้ผู้ทรงคุณวุฒิอ่าน
    • บทความที่ได้รับการพิจารณาตีพิมพ์จะได้รับการตรวจสอบทางวิชาการจากผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญในสาขาที่บทความเกี่ยวข้อง เมื่อได้รับคำแนะนำจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้วกองบรรณาธิการจะส่งข้อคิดเห็น พร้อมทั้งต้นฉบับให้ผู้เขียนปรับปรุงแก้ไข และส่งกลับภายในวันที่กำหนด
    • แบบฟอร์มส่งบทความเพื่อพิจารณานำลงวารสาร
    • รูปแบบการเขียนอ้างอิง
    • แบบฟอร์มบทความวิจัย
    • แบบฟอร์มบทความวิชาการ