การศึกษาความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง

  • ธนวัฒน์ ชาวโพธิ์
  • สุพรรณี บุญหนัก

Abstract

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความพร้อมของอาจารย์ในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ และ (2) ศึกษาความพร้อมของนักศึกษาในการเรียนออนไลน์ ประชากรประกอบด้วย อาจารย์ผู้บรรยายในภาคการศึกษา 1/2563 จำนวน 35 รูป/คน และนักศึกษาภาคปกติ จำนวน 270 รูป/คน กลุ่มตัวอย่างได้จากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง (Sample size) ด้วยตาราง Krejcie & Mogan อาจารย์ผู้บรรยายในภาคการศึกษา 1/2563 จำนวน 32 รูป/คน และนักศึกษาภาคปกติ จำนวน 159 รูป/คน ทำการสุ่มด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างง่าย (Simple Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) 3 ตอน การวิจัยครั้งนี้ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิตเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ประกอบด้วย ความถี่ และร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1. ความต้องการของอาจารย์ผู้บรรยายให้มหาวิทยาลัยสนับสนุนในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ดังนี้ ต้องการกล้องเว็บแคม 17 แท็บเล็ต 10 คอมพิวเตอร์พกพา (โน๊ตบุ๊ค) 7 คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ 3 การฝึกอบรมการใช้โปรแกรม 3 และการฝึกอบรมการเรียนการสอน 2 และ 2. นักศึกษามีความต้องการให้มหาวิทยาลัยสนับสนุน สนับสนุนค่าอินเตอร์เน็ต ร้อยละ 76.00 ลดค่าเทอม ร้อยละ 15.00 และยืดหยุ่นในการเรียนการสอน ร้อยละ 9.00


            The purposes of this research paper were (1) to study the readiness of teachers in online teaching management and 2. To study the readiness of students in online learning. Population consisted of 35 lecturer and 270 students. The samples were obtained by specifying the sample size by using the Krejcie & Mogan table, 32 lecturer and 159 students. The data were collected by simple random sampling method. The instrument used in this research was a questionnaire. his research uses data analysis using descriptive statistics consisting of frequency and percentage. The results of the research are as follows: 1. The needs of lecturers to support the university in managing online learning are as follows: Need a webcam 17, Tablet 10, notebook computer 7, desktop computer 3, training for learning program 3, and teaching training 2. And 2. Students needing the university to support Supporting internet fees 76.00 percent, reducing tuition fees 15.00 percent, and teaching flexibility 9.00 percent

References

กฤษณา สิกขมาน. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการสื่อสารภาษาอังกฤษ ธุรกิจ โดยการใช้การสอนแบบ E-Learning. กรุงเทพฯ: รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
จักรกฤษณ์ โพดาพล. (2563). การจัดการเรียนรู้ออนไลน์: วีถีที่เป็นไปทางการศึกษา. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2563 แหล่งสืบค้น http://slc.mbu.ac.th/article/ /28181.
ธนพรรณ ทรัพย์ธนาดล. (2554). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนบทเรียน ออนไลน์ของมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา. วารสาร Veridian E-Journal SU. 4(1). (May – August, 2011). 652 – 666.
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. (2563). ประกาศของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เรื่อง แนวทางการจัดการเรียนการสอนออนไลน์. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2563 แหล่งสืบค้น https://www.mbu.ac.th/index.php/2012-11-14-02-09-46/2012-11-14-02-29-40/2019-10-31-08-41-47/1732-2020-06-02-03-59-55#.XwwRuCgzbIU
วิทยาเขตศรีล้านช้าง. (2563). ประกาศมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง. เรื่อง มาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) (ฉบับที่ 6). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2563 แหล่งสืบค้น http://www.slc.mbu.ac.th/news/28193
สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา. (2548). แนวทางจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: ครุสภา ลาดพร้าว.
Published
2020-12-31
How to Cite
ชาวโพธิ์, ธนวัฒน์; บุญหนัก, สุพรรณี. การศึกษาความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง. วารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์, [S.l.], v. 6, n. 2, p. 129, dec. 2020. ISSN 2350-9406. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jslc/article/view/1316>. Date accessed: 26 apr. 2024.