ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อลักษณะของการประชาคม องค์การบริหารส่วนตำบลนาแขม อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย

  • กนกกาญจน์ ชายศรี
  • ไพฑูรย์ มาเมือง

Abstract

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ศึกษาความคิดเห็นของประชาชน ที่มีต่อลักษณะของการประชาคม องค์การบริหารส่วนตำบลนาแขม อำเภอเมืองเลย จังหวัดลย (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อลักษณะการประชาคม องค์การบริหารส่วนตำบลนาแขม อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย ของประชาชนที่มี เพศ อายุ การศึกษา และ อาชีพ ต่างกัน และ (3) ศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไขความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อลักษณะของการประชาคม องค์การบริหารส่วนตำบลนาแขม อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาแขม อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย ได้ใช้สูตรในการคำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่างของทาโร ยามาเน่ (Taro Yamane) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 370 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าที t - test และค่าความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) F - test หากพบความแตกต่างจะทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ เชฟเฟ่ (Scheffe’s Method) โดยมีค่านัยสำคัญที่ 0.05


            ผลการวิจัยพบว่า


            1) ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาแขม อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย มีความคิดเห็นต่อลักษณะของการประชาคม โดยรวมทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นด้านเรียงค่าลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ความคิดเห็นด้านความเป็นชุมชน มีค่าแปลผลอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ความคิดเห็นด้านจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม มีค่าแปลผลอยู่ในระดับมาก และความคิดเห็นด้านเครือข่าย มีค่าแปลผลอยู่ในระดับมาก


            2) ผลการเปรียบเทียบ พบว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาแขม อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย ที่มีอายุต่างกัน มีความคิดเห็นต่อลักษณะของการประชาคม โดยรวมทั้ง 3 ด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .05 ส่วนประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาแขม อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย ที่มีเพศ ระดับการศึกษา และอาชีพ มีความคิดเห็นต่อลักษณะของการประชาคม โดยรวมทั้ง 3 ด้าน ไม่แตกต่างกัน


            3) ประชาชนกลุ่มตัวอย่าง ได้นำเสนอปัญหาลักษณะของการประชาคม องค์การบริหารส่วนตำบลนาแขม อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย ด้านเครือข่าย มากที่สุด คือ การรวมกลุ่มของประชาชน เป็นการรวมกลุ่มในวงแคบ เฉพาะในกลุ่มเครือญาติ รองลงมาคือ ประชาชนไม่เห็นความสำคัญของการประชาคม และอันดับที่ 3 คือ ประชาชนขาดจิตสำนึกไม่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาชุมชน


            แนวทางแก้ไขลักษณะของการประชาคมองค์การบริหารส่วนตำบลนาแขม อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย มากที่สุด คือ ควรมีองค์กรเชื่อมประสานการรวมกลุ่ม ระหว่างกลุ่มเล็ก ๆ แต่ละเครือข่ายประชาคม รองลงมาคือ ประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงความสำคัญของการประชาคม อย่างต่อเนื่อง และอันดับที่ 3 คือ ควรจัดให้มีหน่วยงานสำหรับส่งเสริมให้ความรู้ด้านเครือข่ายประชาคมอย่างต่อเนื่อง


            The objectives of this research article were (1) to study people’s opinions towards characteristics of the civil society, Na Kheam Sub-district Administrative Organization, Loei District, Loei Province, (2) to compare the opinions towards characteristics of the civil society, Na Kheam Sub-district Administrative Organization, Loei District, Loei Province, of people who differed in sex, age, education and occupation, and (3) to study suggestions on the problems and solutions to people’s opinions towards characteristics of the civil society, Na Kheama Sub-district Administrative Organization, Loei District, Loei Province. The research sampling subjects were the electorate people aged 18 and above, living in the jurisdiction of Na Kheam Sub-district Administrative Organization, Loei District, Loei, totaling 370. Tools for data collection were questionnaires; statistics for data analysis included frequency, percentage, mean, standard deviation, and t-test and F-test. If statistically significant difference was found, it would be tested in pair by means of LSD (Least-Significant Different); the analysis results were presented in descriptive tables.


            The results of the research were as follows:


            1) The people’s opinions towards characteristics of the civil society, Na Kheam Sub-district Administrative Organization, Loei District, Loei Province was generally rated at high level. When considering by aspect, it was found that the mean ranking from high to low was as the following: being a community was rated at high level, followed by consciousness for the people at large, and the network was scaled at high level.


            2) The hypothesis test showed that the people with difference in sex, level of education and occupation did not differ in opinions towards characteristics of the civil society in three aspects, while those who differed in age did differ in opinions towards characteristics of the civil society in three aspects, with statistical significance at 0.05.


            3) As regards the problem, it was found that the people did not recognize the significance of the civil society since they thought that it wasted their time, giving no benefit to community, while some others thought only of personal interests, ignoring social interests. Additionally, the grouping of people in the village was made in a narrow circle only among the relatives or intimate friends.


            With regard to solutions, it was found that significance of the civil society should be publicized widely and continuously, or communal activity should periodically be organized through coordinative efforts of all civil society networks.

References

กิตติสุดา นนทรี. (2554). ความเข้าใจของประชาชนที่มีต่อลักษณะของการประชาคม องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สา อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. ปริญญานิพนธ์ศาสนศาสตร มหาบัณฑิต,บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
โกวิทย์ พวงงาม. (2548). การปกครองท้องถิ่นไทย: หลักการและมิติใหม่ในอนาคต, พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิญญูชน.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2538). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2549). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550–2554). กรุงเทพฯ : สำนักงาน คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
Published
2020-12-31
How to Cite
ชายศรี, กนกกาญจน์; มาเมือง, ไพฑูรย์. ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อลักษณะของการประชาคม องค์การบริหารส่วนตำบลนาแขม อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย. วารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์, [S.l.], v. 6, n. 2, p. 1, dec. 2020. ISSN 2350-9406. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jslc/article/view/1299>. Date accessed: 26 nov. 2024.