การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลอำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด

  • บุญทัน ขานทะราชา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • พระครูวิจิตรปัญญาภรณ์ , มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • สุเทพ เมยไธสง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Abstract

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลอำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด 2)เพื่อเปรียบเทียบการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด 3)เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้ดูแลเด็กและคณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 230 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test (Independent samples) และ F-test (One way ANOVA)


            ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด จำแนกตามเพศและอาชีพพบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนบุคลากรที่มีอายุต่างกันมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน 3. ข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด สถานศึกษาควรจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนให้มีบรรยากาศจูงใจให้ผู้เรียนเกิดความอยากเรียนอยากรู้และเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพควรจัดภายในห้องเรียนให้มีมุมของเล่นที่หลากหลายเป็นการเสริมประสบการณ์ให้เด็กเล่น จัดมุมหนังสือนิทานภาพสวยงามให้เด็กได้ฝึกเปิดดูเป็นการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านไปโดยไม่รู้ตัว

References

ชรัญฎา บุตรโคตร (2561). การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตอำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

นุชตรี พูลเพิ่ม. (2554). การศึกษาการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดอำนาจเจริญ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสาหรับการวิจัย เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

วีณา นนทพันธาวาทย์. (2550). การบริหารงานวิจัยในโรงเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : แปลน พริ้นท์ติ้ง.

สำนักงานเทศบาลตำบลเกษตรวิสัย. (2562). รายงานการปฏิบัติงานประจำปี 2562. ร้อยเอ็ด : ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลเกษตรวิสัย อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.
Published
2021-04-25
How to Cite
ขานทะราชา, บุญทัน; ,, พระครูวิจิตรปัญญาภรณ์; เมยไธสง, สุเทพ. การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลอำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 5, n. 1, p. 13-22, apr. 2021. ISSN 2730-2644. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/963>. Date accessed: 04 dec. 2024.
Section
Research Article