การบริหารอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัยเทคนิค สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 โดยใช้หลักอิทธิบาท 4
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์การบริหารอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัยเทคนิค 2)เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นการบริหารอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัยเทคนิค 3)เพื่อศึกษาเสนอแนะการบริหารอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัยเทคนิค สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 โดยใช้หลักอิทธิบาท 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรของวิทยาลัยเทคนิคสังกัดสถาบันการอาชีวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 และกลุ่มบุคลากรในสถานประกอบการ รวม 254 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการคำนวณดัชนีจัดเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การบริหารอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัยเทคนิค โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2. ความต้องการจำเป็นการบริหารอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัยเทคนิค พบว่า โดยรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.22 ด้านที่มีความต้องจำเป็นสูงที่สุดคือ ด้านการจัดการเรียนการสอนรองลงมาคือ ด้านการจัดการฝึกอาชีพด้านการจัดหลักสูตร ส่วนด้านที่มีความต้องจำเป็นต่ำสุดคือ ด้านการวัดและการประเมินผล 3. ข้อเสนอแนะการบริหารอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัยเทคนิค สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 โดยใช้หลักอิทธิบาท 4 สถานศึกษาและสถานประกอบควรร่วมมือกันจัดการสอนทฤษฎีและขั้นตอนการฝึกปฏิบัติงานให้ครอบคลุมหลักสูตร ควรวิเคราะห์เนื้อหาการสอนทฤษฎีให้สอดคล้องกับการสอนปฏิบัติ จัดกิจกรรมการปฏิบัติที่เป็นประสบการณ์ตรงต่อการประกอบอาชีพและทักษะอาชีพ
References
จริยา ทัพพะกุล ณ อยุธยา. (2546). การศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพ. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
จำปี อู่เงิน. (2541). ปัญหาการเรียนการสอนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระบบทวิภาคีในวิทยาลัยเทคนิคภาคเหนือตามหลักสูตร 2538. แพร่ : วิทยาลัยเทคนิคแพร่.
เฉลิมศักดิ์ นามเชียงใต้. (2557). การพัฒนารูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัยเทคนิคสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : บริษัท สุวีริยาสาส์น จำกัด.
ประภาส เกตุไทย. (2556). การพัฒนากลยุทธ์การพัฒนาการบริหารการจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีในวิทยาลัยเทคนิคกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การบริหารและการพัฒนา. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2550). ธรรมนูญชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
ราชกิจจานุเบกษา. (2550). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2562. จาก https://www.ombudsman.go.th/10/documents/law/Constitution 2550.pdf
ศิริพรรณ ชุมนุม. (2545). กระบวนการและยุทธศาสตร์การเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้มีอายุสูงกว่า 16 ปี. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2552). ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาว่าด้วยการบริหารสถานศึกษา พ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ : กรมอาชีวศึกษา.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607– 610.