แนวคิดสังคมและการปกครองในอัคคัญญสูตร
Abstract
การศึกษาแนวคิดสังคมและการปกครองในอัคคัญญสูตร ด้านการศึกษาแนวคิดสังคมใน อัคคัญญสูตร แบ่งออกได้ 2 ยุค คือ 1) สังคมที่มีความเจริญด้านศีลธรรมซึ่งมนุษย์ให้ความสำคัญในด้านจิตใจมากกว่าวัตถุ และ 2) สังคมที่มนุษย์ให้ความสำคัญในด้านวัตถุมากกว่าด้านจิตใจซึ่งทำให้เกิดความไม่สงบสุขขึ้นในสังคม เช่นการขโมยทรัพย์สินของผู้อื่นมาเป็นของตน การโกหกและการหลอกลวง การทำร้ายกัน จนต้องมีการตั้งผู้นำขึ้นมาปกครองสังคม ส่วนด้านการปกครองสังคมที่ปรากฏในอัคคัญญสูตร เป็นการปกครองที่ใช้ความเชื่อทางศาสนาเป็นกฎระเบียบในการปกครอง ซึ่งความเชื่อทางศาสนาแบงออกได้ 2 ยุค คือ 1) ยุคของศาสนาพราหมณ์ที่แบ่งประชาชนในสังคมออกเป็น 4 วรรณะ ผลที่เกิดจากการปกครองแบบนี้ เมื่อมองดูภายนอกทำให้สังคมสงบสุข แต่เมื่อมองสภาพภายในสังคมก็มีความเลื่อมล้ำกันของประชาชนและ 2) ยุคของพระพุทธศาสนา ใช้ศีลธรรมเป็นกฎระเบียบในการปกครอง สังคมในพระพุทธศาสนาแบ่งออกเป็น 2 ประการ คือสังคมสงฆ์และสังคมของประชาชนทั่วไป ศีลธรรมที่ใช้ในการปกครองสังคมสงฆ์ คือศีลระดับสูงคือ ศีล 227 และศีล 311 ส่วนศีลของประชาชนทั่วไปคือ ศีล5 และศีล8 ผลที่เกิดจากการปกครองด้วยศีลธรรมจะไม่มีการแบ่งชั้นวรรณะ ความสงบสุขของสังคมจึงขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตามหลักศีลธรรมได้มากหรือน้อยเท่านั้น
References
ประยงค์ สุวรรณบุบผา. (2537). สังคมปรัชญาแนวคิดตะวันออก-ตะวันตก. กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
พุทธทาสภิกขุ. (2546). พุทธประวัติจากพระโอษฐ์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2534). ทีฆนิกาย ปาฏิกวคฺ(ไทย) เล่ม 15 พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถาแปล ชุด 91 เล่ม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2534). พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถาแปล ชุด 91 เล่ม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏ ราชวิทยาลัย.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2534). มัฌฺชิมนิกาย มูลฺปณฺณาสก (ไทย) เล่ม 18 พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถา แปล ชุด 91 เล่ม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
สุนทร ณ รังษี. (2545). ปรัชญาอินเดีย : ประวัติและลัทธิ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุนทร ณ รังษี. (2550). พุทธปรัชญาจากพระไตรปิฎก. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.