การใช้หลักทศพิธราชธรรมเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งในการบริหารองค์กร
Abstract
การใช้หลักทศพิธราชธรรมนั้นเป็นหัวข้อธรรมสำหรับปฏิบัติหน้าที่ของนักบริหาร ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ผู้นำและผู้ปกครองของรัฐทั้งระดับประเทศและระดับท้องถิ่น จะต้องบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ รักษาความสุข ประพฤติตนให้ดีงาม บำเพ็ญกิจด้วยการเสียสละ คือ เสียสละความสุขสำราญในชีวิตของตน ปฏิบัติภารกิจด้วยความชื่อตรง คือ ชื่อตรงทรงสัตย์แบบไร้มารยา ไม่เย่อหยิ่ง จองหอง ไม่คิดอกุศลหลอกลวงประชาชน มีความอ่อนโยนเข้าถึงประชาชน มีอัธยาศัยดีงามไม่หยาบกระด้าง มีกิริยาสุภาพอ่อนโยน ไม่มัวเมาเพราะกิเลส ยึดถือเหตุผล ไม่เกรี้ยวกราดจนเสียกิริยามารยาท ไม่หลงระเริงในอำนาจ และบีบคั้นกดขี่มีเมตตา กรุณาอดทนอดกลั้น ต่องานที่หนักและลำบากประพฤติมิให้ผิดไปจากหลักธรรมอันดีงาม อยู่ในกรอบของศีลธรรมและจริยธรรมอันดีงาม
References
เด่น ชะเนติยัง. (2533). การบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ : ม.ป.ท..
พระธรรมกิตติวงศ์. (2551). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสตร์ฉบับคำวัด. จัดพิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2553). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พุทธทาสภิกขุ. (2549). ทศพิธราชธรรม. กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฎกํ 2500. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณวิทยา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สร้อยตระกูล (ติวยานนท์) อรรถมานะ. (2540). สาธารณบริหารศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุพจน์ พันธ์ชูเพชร. (2538). การศึกษากระบวนการบริหารงานของผู้อำนวยการสามัญศึกษาจังหวัด. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.