ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลพลับพลา อำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Methods Research) ทั้งเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลพลับพลา อำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลพลับพลา อำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด ของประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และประกอบอาชีพ ต่างกัน และ3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลพลับพลา อำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด ประชากร และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพลับพลา อำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด ตามบัญชีรายชื่อ จำนวน 3,556 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตามสูตรของทาโร่ ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 360 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าห้าระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการทดสอบ ได้แก่การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA/F-test) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ส่วนในการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก สัมภาษณ์ผู้รู้หรือผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง จำนวน 11 คน ได้แก่ กำนันตำบลพลับพลา และผู้ใหญ่บ้านทั้งสิบหมู่บ้าน เครื่องมือที่ใช้ในการสัมภาษณ์ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง กล้องถ่ายรูปและเทปบันทึกเสียง
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลพลับพลา อำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับปานกลางทั้งสามด้าน เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยมากที่สุดไปน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม ตามลำดับ 2) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และประกอบอาชีพ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลพลับพลา อำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวม และรายด้าน ไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานของการวิจัยที่ตั้งไว้ และ3) ข้อเสนอแนะแนวทางพัฒนาที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ ลำดับความถี่สูงไปหาต่ำ สามอันดับแรก คือ ควรส่งเสริมสนับสนุนจัดสวัสดิการสังคมให้กับผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคร้ายแรง คนยากจน คนพิการ และผู้ด้อยโอกาสให้เพียงพอ ควรส่งเสริมอาชีพต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาการว่างงานในชุมชน ให้มากยิ่งขึ้น และควรส่งเสริมสร้างถนนการเกษตรให้เพียงพอ