ความพึงพอใจของประชาชนในการดำเนินงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียน กับชุมชน โรงเรียนราชสารสุธีอนุสรณ์ อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด
Abstract
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของประชาชนในการดำเนินงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน โรงเรียนราชสารสุธีอนุสรณ์ 2)เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจในการดำเนินงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน โรงเรียนราชสารสุธีอนุสรณ์ ของประชาชนที่มีเพศและอายุที่แตกต่างกัน 3)เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะของประชาชนเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาการดำเนินงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน โรงเรียนราชสารสุธีอนุสรณ์ อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียนในเขตบริการของโรงเรียนราชสารสุธีอนุสรณ์ จำนวน 322 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเป็นมาตรส่วนประเมินค่า 5 ระดับ มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t -test และค่า F- test โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป
ผลการวิจัยพบว่า 1)ความพึงพอใจของประชาชนในการดำเนินงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน โรงเรียนราชสารสุธีอนุสรณ์ อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2)ผลการเปรียบเทียบ ความพึงพอใจของประชาชนในการดำเนินงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน พบว่า ประชาชนที่มีเพศต่างกัน มีความพึงพอใจของประชาชนในการดำเนินงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน โดยรวมมีระดับความพึงพอใจไม่แตกต่างกัน 3)ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการดำเนินงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน โรงเรียนราชสารสุธีอนุสรณ์ อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า ปัญหาการดำเนินงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยที่สุดดังนี้ โรงเรียนมีการเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาท้องถิ่นที่ชุมชนจัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง รองลงมาคือโรงเรียนประชาสัมพันธ์ข่าวสารไม่ทั่วถึงและครอบคลุมพื้นที่เขตบริการ โรงเรียนขาดผู้รับผิดชอบการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศแก่ชุมชนการเชิญประชาชนมาร่วมในกิจกรรมของโรงเรียนไม่ทั่วถึง และน้อยที่สุดคือโรงเรียนจัดกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนและหน่วยงานอื่นในท้องถิ่นไม่หลากหลายประชาชน ส่วนแนวทางการดำเนินงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยที่สุดดังนี้ โรงเรียนควรจัดบุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาท้องถิ่นที่ชุมชน รองลงมาคือโรงเรียนควรปรับปรุงระบบประชาสัมพันธ์ข่าวสารให้ทั่วถึงและครอบคลุมพื้นที่เขตบริการโรงเรียนควรจัดผู้รับผิดชอบการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศแก่ชุมชน โรงเรียนควรทำหนังสือเชิญประชาชนมาร่วมในกิจกรรมที่โรงเรียนจัดขึ้นให้ทั่วถึงและครอบคลุมพื้นที่เขตบริการและน้อยที่สุดคือโรงเรียนควรจัดกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนและหน่วยงานอื่นในท้องถิ่นให้มีความหลากหลาย
References
เกษม ฐานวิเศษ. (2547). การพัฒนาการดำเนินงานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนโรงเรียนนาเสียวศึกษาคาร อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ณรงค์ กาญจนานนท์. (2527). พฤติกรรมการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาเขตการศึกษา 12. ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ทองหล่อ พวงสุข. (2546). การพัฒนาการดำเนินงานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน โรงเรียนบ้านจานทองกวาววิทยา อำเภอกันทรลักข์ จังหวัดศรีสะเกษ. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
นิพนธ์ ยศดา. (2541). ปัญหาการดำเนินงานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนประถมศึกษา สำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดมหาสารคาม. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยสาส์น.
บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สุวีริยสาส์น.
ประสิทธิ์ พานดวงแก้ว. (2542). ปัญหาการปฏิบัติงานด้านการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดมหาสารคาม. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สมชาย ฤทธิเดช. (2548). การพัฒนาการดำเนินงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนบ้านแมตวิทยาคาร อำเภอเมืองร้อยเอ็ด เขต 1. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สมศักดิ์ ต้นเจริญกิจ. (2542). ปัญหาการปฏิบัติงานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสกลนคร. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
หวน พินธุพันธ์. (2528). การบริหารโรงเรียน. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.