การศึกษาเชิงเปรียบเทียบเป้าหมายสูงสุดของมนุษย์ตามแนว พุทธปรัชญาเถรวาทกับปรัชญาศาสนาพราหมณ์–ฮินดู
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาเป้าหมายสูงสุดของมนุษย์ตามแนวปรัชญาศาสนาพุทธเถรวาท 2)ศึกษาเป้าหมายสูงสุดของมนุษย์ตามแนวปรัชญาศาสนาพราหมณ์–ฮินดู 3)เปรียบเทียบเป้าหมายสูงสุดของมนุษย์ตามแนวปรัชญาศาสนาพุทธเถรวาทกับปรัชญาศาสนาพราหมณ์–ฮินดู วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เน้นการวิจัยทางด้านเอกสาร โดยการศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก หนังสือ เอกสาร ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นำเนื้อหามาวิเคราะห์ แล้วนำเสนอในเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1)เป้าหมายสูงสุดของมนุษย์ตามแนวปรัชญาศาสนาพุทธเถรวาทก็คือนิพพาน เป็นสภาวธรรมที่หลุดพ้นจากกิเลส ตัณหาและทุกข์ทั้งปวง ซึ่งเป็นสภาวะที่อยู่เหนือการเกิดและการตายอยู่เหนือกาลเวลาเป็นสภาวะที่ปราศจากความทุกข์ทั้งมวล ปราศจากบุญและบาปเป็นสภาวะที่เป็นอมตะ วิธีปฏิบัติเพื่อเข้าถึงนิพพานนั้นก็คือการปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา ได้แก่ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขาอธิปัญญาสิกขา เรียกว่า ศีลสมาธิปัญญา 2)เป้าหมายสูงสุดของมนุษย์ตามแนวปรัชญาศาสนาพราหมณ์–ฮินดู ก็คือ การบรรลุโมกษะ หมายถึงสภาวะที่อาตมันรู้แจ้งตัวมันเองว่าเป็นสิ่งเดียวกันกับปรมาตมันหรือพรหมันซึ่งเป็นสภาวะที่ปราศจากบุญและบาปเป็นความบริสุทธิ์สูงสุดและความสุขสูงสุดวิธีปฏิบัติเพื่อบรรลุโมกษะ ได้แก่ ชญาณโยคะ(ความรู้แจ้ง) กรรมโยคะ(การกระทำความดี)ภักติโยคะ (ความศรัทธาต่อพระเจ้า) และราชโยคะ (การบำเพ็ญจิต) 3)จากการศึกษาเปรียบเทียบทั้งสองศาสนาจะพบความคล้ายคลึงกันในทรรศนะความหมายของเป้าหมายสูงสุดคือ การหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง เป็นสภาวะที่อยู่เหนือการเกิดและการตายอยู่เหนือกาลเวลาเป็นอมตะ และเป็นความสุขสูงสุด ส่วนสภาวะที่แตกต่างกันก็คือนิพพานมีสภาวะเป็นอนัตตาส่วนโมกษะมีสภาวะเป็นอัตตา วิธีการปฏิบัติเพื่อเข้าถึงเป้าหมายสูงสุดที่คล้ายกันกล่าวคือ พุทธศาสนาเน้นการฝึกสมาธิ และวิปัสสนากรรมฐาน ส่วนปรัชญาศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ก็เน้นการปฏิบัติสมาธิที่คล้ายกัน แต่ไม่มีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน แต่ได้กล่าวถึงความจงรักภักดีด้วยการประกอบพิธีบูชาและอุทิศตนต่อพระเจ้า เป็นวิธีที่จะทำให้บรรลุถึงโมกษะแต่พระพุทธศาสนา ไม่เห็นด้วยกับการกระทำเช่นนั้น
References
ไพฑูรย์ พัฒน์ใหญ่ยิ่ง. (2530). ความคิดสำคัญในปรัชญาอินเดีย. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2532). พุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2538). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาสมปอง มุทิโต. (2547). คัมภีร์อภิธานวรรณนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บริษัท ประยูรวงศ์
พริ้นติ้ง จำกัด.
พระมหาแก่นเพชร วชิรสาโร (แฝงสีพล). (2541). การศึกษาเปรียบเทียบทรรศนะเรื่องโมกษะในคัมภีร์อุปนิษัทกับนิพพานในคัมภีร์พระสุตตันตปิฎก. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พระมหารุ่ง สุขุมาโล (ละเอียด). (2557). ศึกษาเปรียบเทียบพระนิพพานในพระพุทธศาสนากับพรหมันในศาสนาพราหมณ์--ฮินดู. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระสัทธัมมโชติกะธัมมาจริยะ. (2526). ปรมัตถโชติกะ(ปริเฉทที่ 1-6). กรุงเทพฯ : ยูนิตี้พับลิเคชั่น.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 2, 8, 18, 20, 22, 26. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วรลักษณ์ พับบรรจง, (ม.ป.ป). คัมภีร์กำเนิดจักรวาลศาสตร์แห่งชีวิต. กรุงเทพฯ : ม.ป.พ.
วิธาน สุขีวคุปต์. (2534). อภิปรัชญา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วัชระ งามจิตรเจริญ. (2556). พุทธศาสนาเถรวาท. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา.
สมัคร บุราวาศ. (2554). ปรัชญาพราหมณ์ในสมัยพุทธกาล. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ศยาม.
สุนทร ณ รังสี. (2536). ปรัชญาอินเดียประวัติและลัทธิ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อดิศักดิ์ ทองบุญ. (2532). ปรัชญาอินเดีย. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน.
องค์การศาสนาพราหมณ์-ฮินดู. (2523). หลักธรรมในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู. กรุงเทพฯ : สหพร.