ปัจจัยโครงสร้างเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดขอนแก่น

  • วิมลพร สุวรรณแสนทวี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • พระครูวิจิตรปัญญาภรณ์ , มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • แสงดาว คงนาวัง มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Abstract

           บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)พัฒนาปัจจัยโครงสร้างเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน 2)ตรวจสอบความสอดคล้องความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยโครงสร้างที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน 3)ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรง ทางอ้อม และอิทธิพลรวมของภาวะผู้นำเชิงสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้รับใบอนุญาต จำนวน 54 คน ผู้อำนวยการโรงเรียน 54 คน รองผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 30 คน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 20 คน ครูผู้สอน จำนวน 302 คน รวมทั้งสิ้น 460 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์


           ผลการวิจัยพบว่า  1. การพัฒนาปัจจัยโครงสร้างเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน ประกอบด้วย มีตัวแปรสังเกตได้รวม 18 ตัวแปร ตัวแปรแฝงรวม 5 ตัวแปร รวมตัวแปรทั้งสิ้น 23 ตัวแปร 2. การตรวจสอบสอดคล้องความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยโครงสร้างที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ผลการวิเคราะห์ข้อมูลปรากฏว่า มีค่าความน่าจะเป็นเท่ากับ 0.126 ไค–สแควร์หารด้วยองศาอิสระ เท่ากับ 1.168 ดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของความคลาดเคลื่อนใน (RMSEA = 0.019) ดัชนีวัดระดับความสอดคล้องกลมกลืน และดัชนีวัดระดับความสอดคล้องกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (GFI = 0.977,  AGFI = 0.954) 3. ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงต่อภาวะผู้นำเชิงสถานการณ์ คือ การเป็นแบบอย่างที่ดี ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อม คือบรรยากาศองค์การและปัจจัยที่มีอิทธิพลรวม คือ การเป็นแบบอย่างที่ดี ความคิดสร้างสรรค์ การสื่อสาร

References

ธีระ รุญเจริญ. (2545). รายงานการวิจัยเรื่องสภาพและปัญหาการบริหารและการจัดการศึกษา ขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

ภารดี อนันต์นาวี. (2551). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2555). แนวคิด ทฤษฎี และประเด็นเพื่อการบริหารการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : ทิพยวิสุทธิ์.

ศุภมาส อังศุโชติ และคณะ. (2551). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ : เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. กรุงเทพฯ : มิสชั่นมัลติมีเดีย จำกัด.

สร้อยตระกูล (ติวยานนท์) อรรถมานะ. (2545). พฤติกรรมองค์การ : ทฤษฎี และการประยุกต์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2540). หลักการกระจายอำนาจทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : โอเดียน สโตร์.

Halpin, A. W., & Croft, D. B. (1966). The Organizational Climate of School. Chicago : University of Chicago.

Hoy,W.K,&,C.G.Miskel. (2005). Educational Administration: Theory, Research and Practice. 7th ed. New York : McGraw-Hill.

Lunenburg, F.C. & Ornstein, A.C. (2000). Educational Administration: Concepts and Practice. 3rd ed. Belmont : Wadsworth.

Owens, R.G. (2001). Organization Behavior in Education : Instructional Leadership and School Reform. 7th ed. Boston : Allyn & Bacon.

Saris, W. E., & Stronkhorst. (1984). Casual modeling in No experimental Research: an introduction to the Liesel Approach. Dissertation Abstract International. 47(7). 2261-A.

Schumacker, Randall E. and Lomax, Richard G. (2004). A beginner’s Guide to Structural Equation Modeling. Mahwah, NJ : Lawrence Erlbaum Associates, Inc.
Published
2020-06-30
How to Cite
สุวรรณแสนทวี, วิมลพร; ,, พระครูวิจิตรปัญญาภรณ์; คงนาวัง, แสงดาว. ปัจจัยโครงสร้างเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดขอนแก่น. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 4, n. 1, p. 43-54, june 2020. ISSN 2730-2644. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/822>. Date accessed: 22 nov. 2024.
Section
Research Article