ความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอน สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น

  • จตุพล รูปเตี้ย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • สำเร็จ ยุรชัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Abstract

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอน สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น 2)ศึกษาความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอน สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น จำนวนทั้งสิ้น 278 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และดัชนีความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง


             ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอน สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการให้ความสำคัญกับการทำวิจัยในชั้นเรียน รองลงมาคือ ด้านการให้การยอมรับนับถือครูผู้ทำวิจัยในชั้นเรียน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการมีความรับผิดชอบต่อครูผู้ทำวิจัยในชั้นเรียน  สภาพที่พึงประสงค์ในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอน สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ  ด้านการมีความรับผิดชอบต่อครูผู้ทำวิจัยในชั้นเรียน รองลงมาคือ ด้านการส่งเสริมให้เกิดความสำเร็จของงานวิจัยในชั้นเรียน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการให้ความสำคัญกับการทำวิจัยในชั้นเรียน 2. ผลการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอน สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น โดยภาพรวม พบว่า ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นเฉลี่ย เท่ากับ 0.28 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีความต้องการจำเป็นมากที่สุดคือ ด้านการมีความรับผิดชอบต่อครูผู้ทำวิจัยในชั้นเรียน(0.36) รองลงมาคือ ด้านการส่งเสริมให้เกิดความสำเร็จของงานวิจัยในชั้นเรียน(0.32) ส่วนด้านที่มีความต้องการจำเป็นน้อยที่สุดคือ ด้านการให้ความสำคัญกับการทำวิจัยในชั้นเรียน(0.23) 3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอน สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น ที่สำคัญคือ 1)ผู้บริหารควรนิเทศให้ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนของครู 2)สถานศึกษาควรจัดสรรงบประมาณและหาแหล่งเงินทุนเพื่อสนับสนุนการทำวิจัยในชั้นเรียนอย่างเพียงพอ 3)ผู้บริหารควรพิจารณาให้ความดีความชอบแก่ครูผู้ทำวิจัยในชั้นเรียน ส่งเสริมและสนับสนุนความก้าวหน้าวิชาชีพครู โดยพิจารณาจากผลงานทางวิชาการ 4)สถานศึกษาควรส่งเสริมให้ครูมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายในการบริหารงานวิจัยในสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง 5)ผู้บริหารสถานศึกษาและครูร่วมกันวางแผนออกแบบการวิจัยในชั้นเรียนด้วยเทคโนโลยี  การคิดวิเคราะห์เชิงสร้างสรรค์

References

กัญญาพัชร์ วิชัยรัมย์. (2555). บทบาทการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ทิพวรรณ ชมพูพันธุ์. (2552). บทบาทการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี.
วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

พงศ์เทพ จิระโร. (2553). หลักการวิจัยทางการศึกษา : Principles of Educational Research. ชลบุรี : บัณฑิตเอกสาร.

พรทิวา ตรีตุนา. (2555). การศึกษาความต้องการของครูผู้สอนในด้านการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารโรงเรียนชัยบาดาลวิทยา จังหวัดลพบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

ไพเราะ พัตตาสิงห์. (2554). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการกับการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555–2559. (2559). สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2562. จาก https://actionforclimate.deqp.go.th/?p=6440

พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 125 ตอนที่ 43 ก (5 มีนาคม 2551) : 3.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. (2553). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.

วันเพ็ญ ถาวรกุล. (2558). การศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนดีศรีตำบลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

วรรณนิภา บัญดิษฐตา. (2561). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนสู่การศึกษายุคไทยแลนด์ 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 26. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์. (2560). ห้องเรียนอนาคตแห่งศตวรรษที่ 21 สู่การศึกษายุค Thailand 4.0. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา. (2558). เอกสารประกอบการอบรม : โครงการโรงเรียนปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน. สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2562. จาก http://www.onec.go.th/ onec_web/page.php

สุวรรณี ตามชู. (2554). บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียนในอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

อนงค์ ปัญจขันธ์. (2556). บทบาทของผู้บริหารโรงเรียนในการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของครูในเขตคุณภาพศรีมหาโพธิ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

อนุสา บุญเรือง. (2554). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการทาวิจัยในชั้นเรียนของครูเครือข่ายที่ 37 เขตลาดกระบัง สังกัดกรุงเทพมหานคร. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต.ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Ed. New York. Harper and Row Publications.
Published
2020-06-30
How to Cite
รูปเตี้ย, จตุพล; ยุรชัย, สำเร็จ. ความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอน สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 4, n. 1, p. 29-42, june 2020. ISSN 2730-2644. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/821>. Date accessed: 15 may 2024.
Section
Research Article