แนวทางการพัฒนาองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ

APPROACHES FOR DEVELOPING HIGHT PERFORMANCE ORGANIZATIONS IN SCHOOL UNDER THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE BUENG KAN

  • เพียงใจ อินหงสา มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • วัลลภา อารีรัตน์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • มาลีรัตน์ กะการดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพที่เป็นจริง สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นขององค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ และ 2) เสนอแนวทางการพัฒนาองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ระยะที่ 1 ใช้วิธีเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 278 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.977 วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น และระยะที่ 2 ใช้วิธีเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิโดยการเลือกแบบเจาะจง นำข้อมูลมาวิเคราะห์เนื้อหาและประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของแนวทาง


ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพที่เป็นจริงขององค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา ภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยรายด้านพบว่า ด้านความเป็นครูมืออาชีพ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด และด้านวิสัยทัศน์มุ่งนวัตกรรม มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด 2) สภาพที่พึงประสงค์ขององค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยรายด้าน พบว่า ด้านความเป็นครูมืออาชีพ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด และด้านวิสัยทัศน์มุ่งนวัตกรรมมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด 3) ค่า PNIModified  อยู่ระหว่าง 0.221 ถึง 0.250 ลำดับความต้องการจำเป็นสูงสุดคือ ด้านวิสัยทัศน์มุ่งนวัตกรรม (PNIModified = 0.250) รองลงมา คือ ด้านการมุ่งนักเรียนเป็นสำคัญ (PNIModified = 0.245) และลำดับความต้องการจำเป็นต่ำสุดคือ ด้านความเป็นครูมืออาชีพ (PNIModified = 0.221) และ 4) แนวทางการพัฒนาองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา ประกอบด้วย ชื่อแนวทาง หลักการแนวคิด วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัดความสำเร็จ และ วิธีการปฏิบัติ 5 ด้าน ได้แก่ วิสัยทัศน์มุ่งนวัตกรรม การมุ่งนักเรียนเป็นสำคัญ วัฒนธรรมการเรียนรู้ร่วมกัน ระบบบริหารจัดการคุณภาพ และความเป็นครูมืออาชีพ มีผลการประเมินแนวทางทางการพัฒนาองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้และด้านความเป็นประโยชน์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก


This mixed-method research aimed to 1) examine the current conditions, desired conditions, and priority needs for developing high-performance school organizations under the Bueng Kan Secondary Educational Service Area Office, and 2) propose guidelines for the development of such organizations. In the first phase, a quantitative approach was employed with a stratified random sample of 278 school administrators and teachers. A five-point Likert scale questionnaire was used, with a reliability coefficient of 0.977. Data were analyzed using mean, standard deviation, and the Modified Priority Needs Index (PNI Modified). In the second phase, qualitative methods were applied through semi-structured interviews with purposively selected experts. The data were analyzed using content analysis and evaluated in terms of appropriateness, feasibility, and usefulness.


The findings revealed that: 1) the current condition of high-performance school organizations was rated at a high level overall. Among the five dimensions, “professionalism in teaching” had the highest mean score, while “innovation-oriented vision” had the lowest; 2) the desired condition was rated at the highest level overall, with the same ranking order; 3) the PNI Modified values ranged from 0.221 to 0.250, with the highest need in “innovation-oriented vision” (PNI Modified = 0.250), followed by “prioritizing students” (PNI Modified = 0.245), and the lowest in “professionalism in teaching” (PNI Modified = 0.221); and (4) the proposed development guidelines consisted of five key areas: innovation-oriented vision, prioritizing students, collaborative learning culture, quality management systems, and professionalism in teaching. The overall evaluation of the guidelines in terms of appropriateness, feasibility, and usefulness was at a high level.

References

กีรติ คุวสานนท์และภาวิณี โสธายะเพ็ชร. (2566). การส่งเสริมองค์ประกอบตามแนวคิดผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 21(1). 11-20.

ทินกร เผ่ากันทะ และกัลยารัตน์ เมธีวีรวงศ์. (2566). แนวทางการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. วารสารสมาคมการพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย. 4(2). 37–46.

ธันวา วาทิตต์พันธ์. (2564). องค์ประกอบของโรงเรียนมัธยมศึกษาสมรรถนะสูง. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

น้ำทิพย์ องอาจวาณิชย์ และธีรศักดิ์ อุปไมยอธิชัย. (2567). การพัฒนาแบบวัดจิตวิญญาณความเป็นครู มืออาชีพ. Journal of Education and Innovation. 26(3). 285-299.

พระพัฒนพล สิริสุวณฺโณ(เพ็ชร ไชย) และวิทยาทองดี. (2566). การพัฒนาครูสู่ความเป็นครูมืออาชีพในศตวรรษที่ 21. วารสารมจร อุบลปริทรรศน์. 8(1). 757-766.

รัตนะ บัวสนธ์. (2555). วิธีการเชิงผสมผสานสำหรับการวิจัยและประเมิน. กรุงเทพฯ : บริษัท วี พริ้นท์ (1991) จำกัด.

รินทร์ลภัส ศักดิ์ชัยวัฒนา และคณะ (2566). การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิภาพร คำมุงคุณและคณะ. (2568). ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอกลุ่มโซนรักษ์ชะโนด. วารสารการบริหารการจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน. 3(1). 69-80.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ. (2566). แผนพัฒนาการศึกษา พ.ศ. 2566 – 2570 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ. บึงกาฬ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566 – 2570. กรุงเทพฯ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สุกัญญา พรมอารักษ์. (2567). องค์ประกอบองค์กรสมรรถนะสูงของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 52(2). 1-13.
Published
2025-06-23
How to Cite
อินหงสา, เพียงใจ; อารีรัตน์, วัลลภา; กะการดี, มาลีรัตน์. แนวทางการพัฒนาองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 9, n. 1, p. 163-176, june 2025. ISSN 2730-2644. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/2825>. Date accessed: 04 july 2025.