วาทกรรมคำสอนในกลอนลำชุด “ข้าวนาหว่านสารเคมี” ของวีระพงษ์ วงศ์ศิลป์
DISCOURSE IN THE VERSE OF “KHAO NA WHAN SAN KAE MEE” BY WEERAPONG WONGSIN
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวาทกรรมคำสอนในกลอนลำชุดข้าวนาหว่านสารเคมีของ วีระพงษ์ วงศ์ศิลป์ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาเนื้อหาจากกลอนลำ 10 กลอนลำ ผลการวิจัยพบว่า 1) วาทกรรมคำสอนด้านพระพุทธศาสนา เช่น ละเว้นอบายมุข อย่าหลงในวัตถุสิ่งของ ปฏิบัติตามศีล 5 2) วาทกรรมคำสอนด้านการประหยัดไม่เน้นปัจจัยที่ไม่จำเป็นต่อชีวิต 3) วาทกรรมคำสอนด้านการสอนผู้หญิง เช่น การแต่งกายการดื่มของมึนเมา การศึกษาของผู้หญิง สอนให้รักนวลสงวนตัว 4) วาทกรรมคำสอนด้านการศึกษา เช่น การสร้างครูสอนคุณธรรม สอนให้เด็กมุ่งมั่นในการเรียน 5) วาทกรรมคำสอนด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี เช่น อนุรักษ์และสืบทอดภาษาอีสาน การแต่งกาย 6) วาทกรรมคำสอนด้านอาหารการกิน สอนให้กินอาหารดั้งเดิม 7) วาทกรรมคำสอนด้านการโหยหาอดีต วิธีทำนาและชีวิตดั้งเดิม และด้านการพูดของคนอีสานที่ไพเราะงดงาม
The purpose of this research paper is to study the discourse of teachings in the KlonLum Kao na wan sankame of Weerapong Wongsilp, which is a qualitative research by studying the content of 10 poems The research results found that 1)Buddhist teaching discourse, such as ignoring abysmal, do not be lost in objects, followed the sacraments 5. 2) Economical doctrinal discourse. 3) Women's teaching discourse such as dress, drinking of intoxication, women's education, teaching to love reserved 4) Educational discourse such as creating morality teachers, teaching children to commit to learning, 5) Traditional cultural preservation teachings such as preserving and inheriting Isaan languages, dress code 6) Food teaching discourse, teaching traditional food, teaching to eat traditional foods, 7) Yearning teaching discourse on the past. Farming and traditional life the speaking side of the beautiful Isaan people.
References
กุนทินี โคตรพัฒน์ และราชันย์ นิลวรรณาภา. (2561). อัตลักษณ์ : การสื่อความหมายทางสังคมในเพลงลูกทุ่งอสีานแนวสองแง่สองง่าม. รมยสาร. 16(2). 93-111.
จารุวรรณ ธรรมวัตร. (2543). ภูมิปัญญาอีสาน. พิมพ์ครั้งที่ 3. มหาสารคาม : โครงการตำรามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2545). วาทกรรมการพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิภาษา.
บุญสม ยอดมาลี. (2558). การสร้างจิตสํานึกในการอนุรักษ์ปรับปรนและเห็นคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรม. มหาสารคาม : สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน.
บุษกร บิณฑสันต์ และขำคม พรประสิทธิ์. (2553). หมอลำ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประพนธ์ เรืองณรงค์ และเสาวลักษณ์ อนันตศานต์. (2545). ภูมิปัญญาทางภาษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย และฐิตินัน บุญภาพ คอมมอน. (2562). อัตลักษณ์ของเพลงอีสานประยุกต์ในยุคอีสานใหม่. วารสารนิเทศศาสตร์ มสธ. 9(1). 1-17.
พงศกร มงคลหมู่. (2563). การจัดการเรียนรู้ตามหลักพุทธธรรม. วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์. 1(1). 59-69.
พระมหานิพิฐพนธ์ จิรวฑฺฒโน. (2567). พระพุทธศาสนากับรากฐานทางวัฒนธรรมในวิถีชีวิตชาวหนองคาย. วารสารชัยภูมิปริทรรศน์. 7(1). 33-41.
เพ็ญศรี ดุ๊ก, ไพฑูรย์ สินลารัตน์, ปิยนาถ บุนนาค และวราภรณ์ จิวชัยศักดิ์. (2538). วัฒนธรรมพื้นบ้าน : ศิลปกรรม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภูริณัฐ พฤกษ์เนรมิต. (2564). วิธีวิทยาการศึกษาการโหยหาอดีตในผลงานวิชาการของไทย (พ.ศ. 2546 – 2563). วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ. 34(3). 1-16.
มานิตย์ โคกค้อ. (2557). วาทกรรมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกับการต่อสู้และการต่อรองเชิงอำนาจ : กรณีศึกษากลอนลำของวีระพงษ์ วงศ์ศิลป์. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์. 1(1). 31-52.
ศรัทธา เชิงหอม. (2566). กระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ของหมอลำกฤษณา บุญแสน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
สันติ ทิพนา และราตรี ทิพนา (2561). ปรากฏการณ์การโหยหาหรือถวิลหาอดีตในบทเพลงลูกทุ่งของไผ่ พงศธร. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สันติ ทิพนา. (2559). วาทกรรมความรักชาติผ่านบทเพลงของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.). วารสารวิถีสังคมมนุษย์. 4(1). 174-201.
สุภาวดี พรหมสีทอง. (2559). วิถีชีวิตชาวอีสานจากบทร้องกลอนลำของหมอลำบุญช่วง เด่นดวง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาไทยคดีศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อัจฉรา วิเศษวร และสุวัฒสัน รักขันโท. (2564). หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของชีวิต. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์. 7(2). 387-398.
Foucault, M. (1972). The archaeology of knowledge and discourse on language. New York : Pantheon Books.