การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) ร่วมกับการใช้เกมการ์ดและบอร์ดเกม เรื่อง เวลาและการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะความรู้ 5 ขั้น (5Es) ร่วมกับการใช้เกมการ์ดและบอร์ดเกม เรื่อง เวลาและการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม(ฝ่ายมัธยม) ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 39 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบง่าย โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) ร่วมกับการใช้เกมการ์ดและบอร์ดเกมแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมติฐาน ได้แก่ สถิติทดสอบค่าเฉลี่ยประชากร 2 กลุ่มที่ไม่เป็นอิสระออกจากกัน (t-test Dependent)
ผลการวิจัยพบว่า 1. แผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) ร่วมกับการใช้เกมการ์ดและบอร์ดเกม เรื่อง เวลาและการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 77.69/75.51 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม(ฝ่ายมัธยม) ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) ร่วมกับการใช้เกมการ์ดและบอร์ดเกม เรื่อง เวลาและการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนอย่างมีนัยยะทางสถิติที่ระดับ .05
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
จันทร์ทิพย์ มีแสงพันธ์. (2562). การพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสตีมผ่านกระบวนการสืบเสาะหาความรู้สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชวลิต. ชูกำแพง. (2553). การวิจัยหลักสูตรและการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 2. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เดือนเพ็ญ สังข์งาม. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระประวัติศาสตร์ เรื่อง ทวีปอเมริกาเหนือ ที่จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. คณะครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ธีระวุฒิ ศรีมังคละ. (2562). บอร์ดเกมกับการสอนประวัติศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2567. จาก https://www.gotoknow.org/posts/659998
ปฏิภาณ สร้างคำ. (2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ไทยสมัย ประชาธิปไตย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E). มหาสารคาม : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ปรียานุช พรหมภาสิต และคณะ. (2557). การจัดการความรู้เพื่อสร้างความรู้ในการพัฒนาการเรียนการสอนแบบ PBL หรือ Problem-Based Learning และ Project-Based Learning โดยการบูรณาการรายวิชาในหลักสูตร ประจำปีการศึกษา 2557. กำแพงเพชร : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
วิจารณ์ พานิช. (2554). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : ตถาตาพลับลิเคชั่นจำกัด.
สุรพล ธรรมร่มดี, ทัศนีย์ จันอินทร์ และคงกฤช ไตรยวงค์. (2553). อาศรมศิลป์วิจัย: การวิจัยและพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ แนวจิตตปัญญา. นครปฐม : เอมี่ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด.
Christopher D. W. and other. (2009). The relative effects and equity of inquiry-based and commonplace science teaching on students' knowledge, reasoning, and argumentation. Journal of Research in Science Teaching. 47(3). 276-301.
Corcoran, T. B. (1995). Transforming professional development for teachers: A guide for state policymakers. Washington, DC : National Governors Association.