รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์
A MODEL MANAGEMENT TO VOCATIONAL SKILLS DEVELOPMENT OF STUDENTS UNDER SECONDARY EDUCATION SERVICE AREA OFFICE KALASIN
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหาร 100 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน เลือกแบบเจาะจง 2) สร้างรูปแบบฯ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการสนทนากลุ่มเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ 9 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการประเมินความเหมาะสมเป็นผู้บริหารและครู 30 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.88 แบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์มีความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.93 แบบสัมภาษณ์ ประเด็นการสนทนากลุ่ม แบบสอบถามความเหมาะสมของรูปแบบ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความต้องการจำเป็น
ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และลำดับความต้องการจำเป็น ลำดับที่ 1 การตระหนักรู้ในอาชีพ 2) รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ ประกอบด้วย 5 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 หลักการและวัตถุประสงค์ ส่วนที่ 2 วิธีดำเนินการ ส่วนที่ 3 กลไก ส่วนที่ 4 แนวทางการประเมิน และส่วนที่ 5 เงื่อนไขความสำเร็จ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
The purposes of this research were to 1) Study the current conditions, desired conditions and needs of management to vocational skills development of students under secondary education service area office kalasin. The sample group 100 school administrators, by stratified random sampling. the group of informants in study the guidelines for creating a model 3 experts, by purposive sampling. 2) set a model, the informant group in focus group of 9 experts, and the group of informants in the suitability assessment 30 school administrators and teachers, by purposive sampling. tools used in data collection including, the current condition questionnaire has a reliability value of 0.88. the desired condition questionnaire has a reliability value of 0.93., interview form, focus group discussion issue and suitability questionnaire. and satisfaction questionnaire. statistics used in data analysis are percentage. average and standard deviation and priority needs index.
The results were as follows: 1) Current condition at medium level, desirable condition at the highest level, and the number one need Career Awareness. 2) A model management to vocational skills development of students under secondary education service area office kalasin, consists of 5 parts: part 1 principles and objectives, part 2 procedure, part 3 mechanism, part 4 assessment guidelines, and part 5 success conditions. assessment results on appropriate at the highest level.
References
ดิเรก พรสีมา. (2559). ครู 4.0. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2568. จาก https://www.matichon. co.th/columnists/news_345042
นงนุช ชุมภูเทพ. (2560). รูปแบบการบริหารงานเพื่อส่งเสริมอาชีพของนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาบนพื้นที่สูงและทุรกันดาร เขตภาคเหนือฝั่งตะวันตก. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
พรสวรรค์ จันทะคัด และคณะ. (2563). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตสำหรับนักศึกษาวิชาชีพนอกระบบ. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 11(1). 187-196.
มัญชลี เปี่ยมดี. (2563). การพัฒนาโปรแกรมการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของครูเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตของนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วิริยะ ฤาชัยพานิชย์. (2558). การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน Creativity Based Learning (CBL) กรุงเทพมหานคร. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้. 1(2). 23-37.
สายฟ้า หาสีสุข. (2564). รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดเข้าใจเข้าถึงพัฒนาของโรงเรียนบ้านเมืองแก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4. วารสารนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน. 5(2). 1–10.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์. (2567). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567. กาฬสินธุ์ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). การเสริมทักษะและเสริมสร้างประสบการณ์อาชีพ. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สุภัชชา โพธิ์เงิน. (2562). นวัตกรรมการบริหารวิชาการโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครตามแนวคิดการศึกษาเพื่ออาชีพ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. คณะครุศาสตร์ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Calhoun, C.C. and Finch, A. V. (1976). Vocational and career education: Concepts and operations. Belmont, Calif : Wadsworth Pub. Co.
Jansen. (2013). Lift Skills that Enable Resilience: A Profile of Adolescents from a Colored Community in Kimberley. Dissertation submitted in fulfillment of the requirements for the Magister’s Degree in Occupational Therapy. Faculty of Health Sciences : University of the Free State.