โปรแกรมพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2
AN INNOVATIVE LEADERSHIP DEVELOPMENT PROGRAM FOR SCHOOL ADMINISTRATORS UNDER THE MAHA SARAKHAM PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 2
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 2) เพื่อออกแบบ สร้าง และประเมินโปรแกรมพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและครู จำนวน 316 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามมาตรประมาณค่า และสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 มีภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารในปัจจุบันอยู่ในระดับปานกลาง ในขณะที่สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นอยู่ในระดับสูง โดยประเด็นความต้องการจำเป็นที่สำคัญได้แก่ การสร้างวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน การส่งเสริมและสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย การสนับสนุนการทดลองและการเรียนรู้จากความล้มเหลว รวมถึงความสามารถในการสร้างแรงบันดาลใจให้กับทีมงาน 2) ผลการออกแบบ สร้าง และประเมินโปรแกรมพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 ประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ 1) หลักการของโปรแกรม 2) เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโปรแกรม 3) เนื้อหากิจกรรมของ โปรแกรม แบ่งออกเป็น 5 Module ประกอบด้วย Module 1 การสนับสนุนการทดลองและการเรียนรู้จากความล้มเหลว Module 2 การสร้างวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน Module 3 ความสามารถในการสร้างแรงบันดาลใจให้กับทีมงาน Module 4 การส่งเสริมและสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง และ Module 5 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยซึ่งได้รับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญว่ามีความเหมาะสมและเป็นไปได้ในระดับสูงสุด โปรแกรมนี้คาดว่าจะช่วยพัฒนาความสามารถของผู้บริหารสถานศึกษาในการนำพาการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรมสู่สถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
This research aimed to 1) study the current status, desired status, and needs of innovative leadership of school administrators under the Office of Mahasarakham Primary Educational Service Area 2, and 2) to design, create, and evaluate a program to develop innovative leadership of school administrators under the Office of Mahasarakham Primary Educational Service Area 2. The sample group of administrators and teachers was 316 people. The research instruments were rating scale questionnaires and semi-structured interviews. Statistical methods used for data analysis include: Percentage Mean Standard deviation Index of necessity.
The research results found that 1) the current status, the desired status, and the necessary status of innovative leadership of school administrators under the Office of the Primary Educational Service Area, Maha Sarakham Area 2, the current status of innovative leadership of administrators was at a moderate level, while the desired status and the necessary status were at a high level. The important necessary issues included creating a clear vision, promoting and supporting change, creating a conducive environment, supporting experimentation and learning from failure, and the ability to inspire the team. 2) The results of design, creation and evaluation of the innovative leadership development program for school administrators under the Office of the Primary Educational Service Area, Mahasarakham Area 2 consisted of 5 parts: 1) Program principles 2) Program goals and objectives 3) Program activity content, divided into 5 modules: Module 1: Supporting experimentation and learning from failure; Module 2: Creating a clear vision; Module 3: Ability to inspire the team; Module 4: Promoting and supporting change; and Module 5: Creating a conducive environment, which was assessed by experts as being most appropriate and feasible. This program is expected to help develop the ability of school administrators to effectively bring about change and innovation to their schools. Keywords: Development program, Innovative leadership, School administrators.
References
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ปารวี บุญเพชร์, ชูชาติ พ่วงสมจิตร์ และเก็จกนก เอื้อวงศ์. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ. 44(14). 29–44.
แพรวพรรณ เปรมลาภ. (2565). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
วัชรพงศ์ ทัศนบรรจง (2563). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาในโครงการโรงเรียนประชารัฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
สมบัติ จงใจพาณิชย์. (2563). นวัตกรรมการศึกษา: การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนและการบริหารการศึกษาในยุคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว. วารสารการศึกษาพิเศษและการพัฒนา. 8(2). 45-58.
สาคร น้อมระวี. (2565). โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 9(1). 20–33.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2. (2567). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567. มหาสารคาม : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566–2570). กรุงเทพฯ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์. (2554). การพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสายสนับสนุนสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อภิสรา ทองกวาว. (2568). ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุทัยธานี ชัยนาท. วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์. 9(1). 127–142.
Weiss, D. S., & Legrand, C. (2011). Innovative Intelligence: The Art and Practice of Leading Sustainable Innovation in Your Organization. Canada : John Wiley & Sons Canada, Ltd.