คุณภาพการใช้ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ในการทำงานของบุคลากร สำนักงานจังหวัดขอนแก่น

QUALITY OF ELECTRONIC DOCUMENT MANAGEMENT SYSTEM UTILIZATION BY PERSONNEL IN KHON KAEN PROVINCIAL OFFICE

  • อำนวย สังข์ช่วย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการใช้ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ในการทำงานของบุคลากร สำนักงานจังหวัดขอนแก่น 2) เพื่อศึกษาหาข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาคุณภาพการใช้ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ในการทำงานของบุคลากร สำนักงานจังหวัดขอนแก่น ให้มีคุณภาพยิ่งขึ้ง  เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สัมภาษณ์เชิงลึก จากประชากรกลุ่มเป้าหมาย คือ บุคลากรสำนักงานจังหวัดขอนแก่น จำนวน 14 คน คัดเลือกโดยวิธีเจาะจง กระจายตามความเหมาะสมของสถานการณ์  ใช้กรอบแนวคิดการปฏิบัติงานสารบรรณออนไลน์ 6 ประเภท สถิติที่ใช้ในกานวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงพรรณนา


ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการวิเคราะห์ระดับคุณภาพการใช้ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ในการทำงานของบุคลากร สำนักงานจังหวัดขอนแก่น โดยภาพรวมมีการใช้ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภท มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2) ผลการวิเคราะห์ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการใช้ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ในการทำงานของบุคลากร สำนักงานจังหวัดขอนแก่น หนังสือระบบสารบรรณ 1) หนังสือภายนอก ควรเพิ่มประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการรับ-ส่งหนังสือภายนอก ควรใช้เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ช่วยให้การทำงานสะดวกขึ้น ลดภาระงานเอกสารที่ไม่จำเป็น 2) หนังสือภายใน ควรเพิ่มความสะดวกและรวดเร็วในการรับ-ส่งหนังสือภายใน ควรพิจารณาลดข้อผิดพลาดในการจัดทำหนังสือและปรับปรุงคุณภาพของเอกสาร 3) หนังสือประทับตราแทนการลงชื่อ ควรเพิ่มความถูกต้องและมาตรฐานในการใช้ตราประทับแทนการลงนาม ควรลดความเสี่ยงในการปลอมแปลงและการใช้ผิดวัตถุประสงค์

References

กองกลาง สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (2548). ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชาย โพธิสิตา. (2550). หลักการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงปริมาณ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดิเรก แก้วสมนึก. (2549). ประสิทธิภาพของการใช้อิเล็กทรอนิกส์ในการผลิตและส่งหนังสือ: กรณีศึกษาเฉพาะธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

เดชา สุพรรณทอง. (2548). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

นัฐวุฒิ กุลปุณยภา. (2566). แนวทางการพัฒนาระบบสารบรรณอิเลกทรอนิกส์ของสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. คณะรัฐศาสตร์ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

มานิตย์ กุศลคุ้ม. (2562). ความพร้อมต่อการใช้ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. 13(2). 173–183.

วรรณรัตน์ จันทร์ศิริ. (2549). ความรู้ ทักษะ เจตคติ และปัญหาในการปฏิบัติงานระบบบริหารจัดการเอกสารสำนักงานด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิพร เกตุแก้ว. (2553). แนวคิดพื้นฐานของการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.).

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2564). ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.
Published
2025-06-13
How to Cite
สังข์ช่วย, อำนวย. คุณภาพการใช้ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ในการทำงานของบุคลากร สำนักงานจังหวัดขอนแก่น. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 9, n. 1, p. 114-123, june 2025. ISSN 2730-2644. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/2812>. Date accessed: 03 july 2025.